วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม

ศ. ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม

Cover Story

แผ่นดินไหว เป็นภัยธรรมชาติที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หลังจากเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว Wenchuan ขึ้นในมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน และไร้ที่อยู่อาศัยอีกนับล้านคน ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจีนเป็นอย่างมาก

เหตุการณ์ดังกล่าว สะท้อนถึงความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลกที่มีแนวโน้มการเกิดภัยธรรมชาติถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้น หากพิจารณาย้อนกลับไปถึงภัยทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในปีนี้ และเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ห่างกันไม่มากนัก ไม่ว่าจะเป็นพายุเฮอร์ริเคนแคทรินา ที่รัฐนิวออร์ลีนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และพายุไซโคลนนาร์กีส ที่ประเทศพม่า ก่อนที่ล่าสุดจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน

สำหรับในประเทศไทย นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องต่างตระหนักถึงความรุนแรงของการเกิดภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแผ่นดินไหว ซึ่งศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่สามารถพยากรณ์ได้แม่นยำ ประกอบกับภัยแผ่นดินไหวเป็นภัยทางธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่หลายครั้ง จนทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนสถานะจากประเทศที่ค่อนข้างปลอดจากภัยธรรมชาติ เป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติรุนแรงประเทศหนึ่งทีเดียว ดังนั้น การเตรียมพร้อมอาคารและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแผ่นดินไหว เพื่อให้ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินน้อยที่สุด จึงเป็นมาตรการบรรเทาภัยที่มีความสำคัญยิ่ง

การออกแบบโครงสร้างอาคารที่ดีต้องมีความสมมาตร

ศ. ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลักการออกแบบโครงสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหวต้องคำนึงถึงระบบโครงสร้าง (Structure), การยึดชิ้นส่วนต่างๆ (Anchorage), การยึดโยงโครงสร้าง (Bracing), ข้อต่อ (Connection) และความเหนียวของโครงสร้าง (Ductility) เป็นสำคัญ

“โครงสร้างของอาคารต้านทานแผ่นดินไหวจะต้องมีรูปทรงที่ดี มีรูปทรงที่สมมาตร เพราะหากอาคารมีรูปทรง หรือโครงสร้างที่ไม่ดี แรงจากแผ่นดินไหวที่มากระทำต่อโครงสร้างจะทำให้อาคารได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ลักษณะของอาคารที่มีระบบโครงสร้างที่ไม่ดี คือ ชั้นล่างมีพื้นที่เปิดโล่ง เป็น Soft Story และมีเสาสั้น ซึ่งพบว่าในประเทศไทยมีอาคารลักษณะดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอาคารโรงเรียน โรงพยาบาล และอาคารสาธารณะอื่นๆ ซึ่งควรได้รับการปรับปรุง แก้ไขให้มีโครงสร้างอาคารที่แข็งแรง เพราะตามหลักการอาคารเหล่านี้ควรจะต้องมีสมรรถนะที่ดีกว่าอาคารทั่วไป เนื่องจากต้องสามารถใช้เป็นอาคารหลบภัย บรรเทาสาธารณภัยได้ด้วย”

ทั้งนี้การปรับปรุง แก้ไขอาคารโรงเรียน โรงพยาบาล หรืออาคารสาธารณะที่มีชั้นล่างเปิดโล่ง เป็น Soft Story สามารถดำเนินการได้ โดยสร้างผนังเพิ่มขึ้นด้านละหนึ่งผืน และใส่ฐานรากเสริมเข้าไป เพื่อให้อาคารมีโครงสร้างที่แข็งแรงมากขึ้น ซึ่งไม่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก

อาคารต้านทานแผ่นดินไหวต้องมีความเหนียว รับแรงสั่นไหวและแรงโยกได้
ศ. ดร. ปณิธาน ได้กล่าวต่อไปว่า อาคารต้านทานแผ่นดินไหวจะต้องมีการยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอาคารที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น สะพาน ตัวคานสะพานหรือพื้นสะพานต้องได้รับการออกแบบให้มีการยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันมิให้ตัวอาคารหลุดออกจากฐานรองรับ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวและอาคารได้รับแรงสั่นไหวไปมา ซึ่งต้องยอมรับว่าในประเทศไทยนั้นมีทั้งสะพานและทางด่วนที่ไม่ได้รับการออกแบบเพื่อป้องกันการหลุดของพื้นหรือคานออกจากฐานรองรับ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องพิจารณาดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยใส่ตัว Stopper เพื่อมิให้คานหรือพื้นสะพานหลุดออกจากฐานรองรับ

สำหรับอาคารโครงสร้างเหล็ก หรือโครงสร้างไม้ควรจะต้องมีการยึดโยงทแยง เพื่อให้รับแรงด้านข้างได้ ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงข้อต่อของอาคาร ให้สามารถยึดรั้งชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน และถ่ายแรงจากชิ้นส่วนหนึ่งไปสู่อีกชิ้นส่วนหนึ่งได้

นอกจากนี้ โครงสร้างของอาคารต้านทานแผ่นดินไหวยังต้องมีความเหนียว ทนต่อแรงโยกของแผ่นดินไหวได้ โดยที่ไม่เสียกำลังหรือยังคงกำลังส่วนใหญ่ไว้ได้ โดยใส่ปลอกรัดแกนของเสาให้มีความถี่มากขึ้น และคำนวณขาของเหล็กปลอกให้มีความยาวเพียงพอ

15 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงภัยต้องออกแบบอาคารให้ต้านทานแผ่นดินไหวได้
กฎกระทรวงฉบับที่ 49 ภายใต้กฎหมายควบคุมอาคารว่าด้วยการก่อสร้างอาคารต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต้องทำการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อน อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และกาญจนบุรี ภาคกลาง 5 จังหวัดซึ่งเป็นพื้นที่ดินอ่อนมาก อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในระยะไกล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร เพื่อให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวมีความแข็งแรงทางโครงสร้าง สามารถต้านทานต่อแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ แต่สำหรับอาคารต่างๆ ที่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ก่อนที่กฎกระทรวงฉบับที่ 49 จะมีผลบังคับใช้ เจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างควรดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงโครงสร้างให้มีความแข็งแรง เพื่อมิให้อาคารมีความเสี่ยงต่อการเสียหาย เมื่อเกิดภัยแผ่นดินไหว

ทั้งนี้การแก้ไข ปรับปรุงโครงสร้างอาคารสาธารณะต่างๆ ควรเลือกให้ความสำคัญกับอาคารสาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาล หรือโรงไฟฟ้า และอาคารเพื่อการบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น สะพาน ทางด่วน เป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากอาคารดังกล่าวจำเป็นต้องใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แม้ในยามเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง เพื่อบรรเทาสาธารณภัย ดังนั้น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการ พร้อมทั้งจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญประเมินความแข็งแรงของอาคาร เพื่อแก้ไข ปรับปรุงให้โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรง

ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเสียหายของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว


ศ. ดร.ปณิธาน กล่าวว่า อาคารและสิ่งปลูกสร้างจะเสียหายจากแผ่นดินไหวมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือ แผ่นดินไหวมีขนาดใหญ่เพียงใด

มีส่วนประกอบความถี่อย่างไร สั่นไหวนานเพียงใด จุดกำเนิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ระดับตื้นหรือลึก ใกล้กับเมืองไหม สภาพดินบริเวณที่ตั้งอาคารเป็นอย่างไร อาคารมีระบบโครงสร้างที่ดีพอหรือไม่ และที่สำคัญ คือ อาคารได้รับการออกแบบและก่อสร้างด้วยมาตรฐานอย่างไร เพราะอาคารที่ได้รับการออกแบบและก่อสร้างโดยไม่ได้มาตรฐานที่ดีพอ มีโอกาสจะเสียหายหรือพังทลายได้ หากเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางประมาณ 5.5 หน่วยริกเตอร์ขึ้นไป ใกล้กับที่ตั้งอาคาร

อาคารเตี้ย ได้รับความเสียหายมากกว่าอาคารสูงเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
อย่างไรก็ตาม มักมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าแผ่นดินไหวจะมีผลต่ออาคารสูงมากกว่าอาคารเตี้ย หากพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นในต่างประเทศประกอบ จะพบว่า อาคารเตี้ยหรือสูงไม่มากนัก (ต่ำกว่า 15 ชั้นโดยประมาณ) ที่ไม่ได้รับการออกแบบหรือก่อสร้างให้ได้มาตรฐานดีพอ ได้พังทลายมากมายในคราวแผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ที่เม็กซิโกในปี พ.ศ. 2528 แผ่นดินไหวขนาด 5.6 ริกเตอร์ ที่ Newcastle ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2532 และแผ่นดินไหวขนาด 6.9 ริกเตอร์ ในปี พ.ศ. 2538 ที่โกเบ ประเทศญี่ปุ่น

อาคารในประเทศไทยที่ไม่สูงมากนัก เช่น อาคารชุดที่สูงกว่าตึกแถว แต่ก่อสร้างด้วยมาตรฐานตึกแถว เป็นอาคารประเภทที่มีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากมาตรฐานการก่อสร้างต่ำ ทั้งยังอาจเสี่ยงต่อการเกิดการสั่นพ้อง หากคาบการสั่นไหวที่สำคัญของพื้นดินใกล้เคียงกับคาบการสั่นไหวธรรมชาติของอาคาร แต่หากเป็นอาคารสูงที่ได้รับการออกแบบต้านทานแรงลมตามกฎกระทรวง โดยทั่วไปจะมีความต้านทานภัยจากแผ่นดินไหวได้ในระดับหนึ่ง โดยที่ไม่พังทลายแต่เกิดความเสียหายกับโครงสร้างของอาคาร ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการออกแบบและการก่อสร้างว่าดีพอหรือไม่ และแผ่นดินไหวจะมีโอกาสเกิดขนาดใหญ่ได้มากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ โครงการที่กระทำโดยรีบเร่งและขาดการติดตามตรวจสอบที่ต่อเนื่องย่อมได้อาคารที่ด้อยคุณภาพ ย่อมมีโอกาสเกิดความเสียหายหากเกิดแผ่นดินไหวที่ไม่รุนแรงมากนัก หรือแม้กระทั่งพังทลายได้โดยไม่ต้องมีภัยธรรมชาติ ดังเช่น โรงแรมรอยัล พลาซ่า จ.โคราช เมื่อปี พ.ศ. 2536 และอาคารห้างสรรพสินค้าซัมปุง ประเทศเกาหลี เมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตราว 500 คน

ค่าออกแบบส่วนโครงสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 5-15%
ศ. ดร.ปณิธาน กล่าวว่า ภัยแผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่แน่นอนและมีความผันผวน ทั้งยังไม่สามารถพยากรณ์การเกิดภัยแผ่นดินไหวได้แม่นยำด้วยศาสตร์ในปัจจุบัน การศึกษาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวยังขาดรายละเอียด ดังนั้น การไม่ตั้งอยู่ในความประมาท โดยการออกแบบและก่อสร้างอาคารให้สามารถต้านทานภัยแผ่นดินไหวในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้จัดทำมาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนจากภัยแผ่นดินไหว (มยผ. 1301-50) เพื่อเป็นเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดการจัดรูปทรงของโครงสร้างให้มีเสถียรภาพและการจัดโครงสร้างทั้งระบบให้มีความเหนียว สามารถต้านทานภัยแผ่นดินไหวได้ โดยมีผลบังคับใช้กับอาคารที่ปลูกสร้างใหม่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย 15 จังหวัด

“การออกแบบโครงสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหว ภายใต้หลักเกณฑ์ มยผ. 1301-50 อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายในการออกแบบโครงสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 5-15% หรือคิดเป็นประมาณ 5% ของมูลค่าการก่อสร้างอาคารโดยรวม ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของโครงสร้างเท่านั้น ไม่รวมถึงค่าก่อสร้างในส่วนของงานสถาปัตยกรรมและงานระบบ เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล ปรับอากาศ เป็นต้น”

ต้องมีมาตรการบรรเทาภัยรองรับการเกิดแผ่นดินไหวอย่างเท่าทัน
นอกจากการออกแบบโครงสร้างอาคารให้มีความคงทน แข็งแรง สามารถต้านทานภัยแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว มาตรการบรรเทาภัยแผ่นดินไหวก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากเช่นกัน โดยมาตรการที่ควรดำเนินการเพื่อให้อาคารต้านทานแผ่นดินไหวได้ในระดับที่เหมาะสมมีดังนี้ คือ การกำหนดเขตที่มีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวสูง เช่น บริเวณใกล้รอยเลื่อนที่มีศักยภาพในการกำเนิดแผ่นดินไหว และควรทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ เพื่อหลีกเลี่ยงการปลูกสร้างอาคารในบริเวณเหล่านั้น หรือหากจำเป็น ก็ควรต้องออกแบบอาคารเป็นพิเศษ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องให้ทันกับวิทยาการใหม่ๆ รวมถึงผลงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิศวกรรมแผ่นดินไหวทั้งในและต่างประเทศ ปรับปรุง เสริมความแข็งแรงอาคารสาธารณะที่จำเป็นสำหรับการยังชีพ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ ที่มีอยู่แล้วในเขตแผ่นดินไหวรุนแรง สำหรับอาคารที่จะก่อสร้างขึ้นใหม่จะต้องออกแบบให้แข็งแรงเป็นพิเศษ โดยอาคารสาธารณะที่มีผลกระทบกับประชาชนจำนวนมากๆ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบแบบวิศวกรรมโดยอิสระจากบุคคลที่สาม

ระบบการกู้ภัยที่มีประสิทธิภาพช่วยลดความสูญเสียต่อชีวิตได้
เพื่อให้มาตรการบรรเทาภัยแผ่นดินไหว เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเกิดภัยแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดตั้งหน่วยสอดส่อง ตรวจสอบมาตรฐานการก่อสร้าง ตลอดจนควบคุมงานของผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงาน ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษา สมาคมวิชาชีพควรปลูกจิตสำนึกนักศึกษาและวิศวกร ให้ยึดมั่นในจริยธรรมแห่งวิชาชีพโดยเคร่งครัด รวมทั้งบรรจุวิชาพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวไว้ในหลักสูตรปริญญาตรีด้วย รวมไปถึงรัฐควรส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยและการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยังมีอยู่น้อยมากในประเทศไทยขณะนี้ อีกทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การศึกษาแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานทั่วไปและเตรียมพร้อมเพื่อบรรเทาภัย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาสาธารณภัยควรเตรียมแผนปฏิบัติการรวมถึงการซ้อมปฏิบัติการทุกขั้นตอน

ศ. ดร.ปณิธาน กล่าวว่า “ระบบการกู้ภัยที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นเครื่องตัดสินถึงความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวแล้ว เพราะแน่นอนว่าอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีระบบโครงสร้างไม่ดีพอ ย่อมได้รับความเสียหาย หรืออาจพังถล่มลงมา สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น หากระบบการกู้ภัยมีประสิทธิภาพ ความสูญเสียต่อชีวิตมนุษย์ภายหลังเกิดเหตุย่อมลดน้อยลงได้”

จรรยาบรรณของผู้ออกแบบและผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญที่สุด
การออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความมีจรรยาบรรณ

จริยธรรมและจิตสำนึกที่ตระหนักถึงความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน วิศวกรผู้ออกแบบ วิศวกรผู้ควบคุมงาน ผู้รับเหมาก่อสร้าง ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการออกแบบ ก่อสร้างอาคาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ขณะเดียวกันก็ต้องมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพควบคู่ไปด้วย เพื่อให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง สามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้อย่างเหมาะสม ศ. ดร.ปณิธาน กล่าวในที่สุด


ตัวอย่างความเสียหายของโครงสร้างอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
อาคารที่ได้รับความเสียหายจากภัยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีสาเหตุมาจากระบบโครงสร้างของอาคารไม่มีความแข็งแรง เช่นอาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพาน จ.เชียงราย ที่ประสบภัยแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง 5.1 ริกเตอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากตัวเมือง อ.พาน ราว 25 กิโลเมตร ส่งผลให้อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพาน ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ได้รับความเสียหายมีรอยแตกร้าวทแยงแบบการเฉือนในเสาสั้นกว่า 10 ต้น

อาคารที่มีลักษณะระบบโครงสร้างที่ไม่ดีอีกตัวอย่างหนึ่งที่พบเมื่อเกิดภัยแผ่นดินไหว เมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ประเทศ แต่อาคารสูงบริเวณภาคเหนือตอนบน และกรุงเทพมหานครก็รู้สึกสั่นไหวด้วย โดยมีอาคารหลังหนึ่งของโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม อ. เมือง จ. เชียงราย ได้รับความเสียหายค่อนข้างมากในเสา คสล. จำนวน 2 ต้น โดยเกิดรอยร้าวทแยงแบบการเฉือนกว้างราว 10 มิลลิเมตร สาเหตุจากการยึดรั้งของผนังที่หล่อติดกับเสาเกือบตลอดความสูงของเสา ทำให้เกิดส่วนของเสาสั้น เป็นความเสียหายที่อันตราย

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญในประเทศไทย

วัน / เดือน / ปี

ขนาด
(ริกเตอร์)

จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว
บริเวณที่รู้สึกสั่นไหว
(ระดับความรุนแรงเมอร์แคลลี)

พ.ศ. 2088

-

-

ยอดเจดีย์หลวงในเชียงใหม่หัก

12 เม.ย. 2510

6.1

สุมาตรา

ภาคใต้

17 ก.พ. 2518

5.6

อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

ภาคเหนือ (VI) ภาคกลาง

22 เม.ย. 2526

5.9

กาญจนบุรี

จ.กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ

11 ก.ย. 2537

5.1

อ.พาน จ.เชียงราย

ภาคเหนือ (V-VI)

12 ก.ค. 2538

7.2

ประเทศพม่า

ภาคเหนือ (V-VI) รู้สึกได้ที่ กทม.

22 ธ.ค. 2539

5.5

พรมแดนไทย-ลาว

ภาคเหนือ (V-VI)

22 ก.ย. 2546

6.7

พม่า

ภาคเหนือ กทม.

26 ธ.ค. 2547

9.2 (1)

สุมาตรา

ภาคกลาง ภาคใต้

8 ต.ค. 2549

5.6

พม่า

ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม

13 ธ.ค. 2549

5.1

อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

เชียงใหม่ เชียงราย

16 พ.ค. 2550

6.3 (1)

ประเทศลาว

ภาคเหนือตอนบน และ กทม. (ในอาคารสูง)

หมายเหตุ : (1) หน่วยโมเมนต์ (Mw)
ที่มา : การเตรียมพร้อมอาคารและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับภัยธรรมชาติ

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินกับสารเคมี

จาก http://www.moodythai.com/new/article/iso14001/chem-respond.htm

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายอาจมีผลกระทบ
ต่อผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม ประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง และการสูญเสียทรัพย์สิน เช่น
การเกิดเพลิงไหม้สารเคมี สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นพิษก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยในบริเวณ
ใกล้เคียง ในขณะเดียวกันน้ำที่ใช้ดับเพลิงแล้ว อาจไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดปัญหามลภาวะ
ต่อแหล่งน้ำได้อีกด้วย แต่ถ้าหากมีการป้องกัน ตรวจสอบ และมีการเตรียมการที่ดีในการ
รับสถานการณ์เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน จะสามารถระงับหรือลดขนาดของการสูญเสียชีวิตและ
ทรัพย์สินได้ วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินก็เพื่อที่จะควบคุมหรือกำจัด
เหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และกำหนดขั้นตอนในการระงับอุบัติภัย รวมถึงการลดผลกระทบอันเนื่องมาจาก
เหตุฉุกเฉินที่มีต่อสุขภาพ ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชนและขบวนการผลิต ในการ
จัดทำแผนฉุกเฉินจะยึดตามภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่ การเกิดอัคคีภัยและการหกรั่วไหลของสารเคมี

แผนปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้
จากข้อมูลของการสำรวจเบื้องต้นทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับแต่ละสถานที่ เพราะในรายละเอียดสถานที่แต่ละอาจมีวิธีปฏิบัติไม่เหมือนกันทุกแห่ง
แต่แนวปฏิบัติโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน เช่น


1. เมื่อมีผู้พบเห็นเหตุการณ์ ต้องดำเนินการดังนี้
- ผู้พบเห็นใช้สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือวิธีการใดที่รวดเร็วชัดเจน เพื่อให้
ผู้อยู่ในอาคารทราบและแจ้งพนักงานดับเพลิง
- พยายามใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหรืออุปกรณ์อื่นเท่าที่มี เพื่อดับเพลิงทันที

2. บุคคลในสถานที่เกิดเหตุ
- พนักงานผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดับเพลิง ต้องรีบออกจากสถานที่ทำงานของตนโดยเร็ว ตามแผนผังการหนีไฟของโรงงานและไปรวมกัน ณ จุดรวมพล เพื่อตรวจนับจำนวนพนักงาน
- ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการตรวจนับจำนวนพนักงาน เพื่อตรวจสอบว่ายังมีพนักงานติดอยู่ภายในหรือไม่เพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่
หน่วยดับเพลิงจากภายนอกที่มาทำการช่วยเหลือในการดับเพลิง เช่น ชี้นำไปยังสถานที่เกิดเหตุ หรือนำไปยังสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงของโรงงาน
- ให้พนักงานที่ได้รับมอบหมายในการปฐมพยาบาลคอยช่วยเหลือในการ
ปฐมพยาบาลหรือส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย คอยดูแลไม่ให้บุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุเพลิงไหม้เข้ามาภายในบริเวณเพลิงไหม้
ภายหลังเกิดเหตุให้หัวหน้าหน่วยงานของแผนกที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ทำการสำรวจ
ความเสียหายและรายงานต่อผู้บริหาร

3. การอพยพ
กรณีที่เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น เพลิงไหม้โกดัง ถังเก็บเคมีภัณฑ์ระเบิด หรือมี
ไอเคมีไวไฟจำนวนมาก หัวหน้าควรออกคำสั่งให้พนักงานทุกคนออกจากพื้นที่บริเวณโรงงาน
อย่างระมัดระวัง โดยปฏิบัติตามแผนอพยพ
ในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือผู้ประสานงานเหตุฉุกเฉินจะรวบรวมและประเมินข้อมูลข่าวสาร จัดเตรียมเอกสารแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ ขอความเห็นชอบในเรื่องของข่าว และออกแถลงการณ์แจ้งให้พนักงาน สาธารณชน และสื่อมวลชนทราบ
ส่วนผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเพราะกลุ่มสารเคมี
แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเฉพาะกลุ่มของสารเคมีต่อไปนี้ เป็นการจำแนกสารเคมีที่มี
คุณสมบัติคล้ายคลึงกันไว้ในหมวดเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการควบคุม การจัดเก็บ การระงับ
อุบัติภัย กรณีเกิดอัคคีภัยหรือการหก รั่วไหลของสารอันตราย รวมถึงการปฐมพยาบาลพนักงานจากการได้รับสารดังกล่าว ซึ่งโดยทั่วไปตามหลักการเก็บกักสารเคมีที่ดีนั้น ควรจะต้องมีการแยกเก็บสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ในที่นี้จะได้จำแนกกลุ่มของสารเคมีออกเป็น 52 กลุ่ม เช่น ก๊าซไวไฟสูง ก๊าซพิษ ของเหลวไวไฟสูง ของแข็งไวไฟ สารที่ติดไฟได้เอง ฯลฯ
แนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้นี้ เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติสำหรับสารกลุ่มนั้นๆ สำหรับ
รายละเอียดของสารแต่ละชนิด จำเป็นที่จะต้องศึกษาจากข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี MSDS เพิ่มเติม
ในการปฏิบัติเมื่อเกิดการหกรั่วไหลของสารเคมีควรนำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาร่วมด้วย เช่น

- ชนิดหรือประเภทของสารอันตราย
- ขนาดหรือปริมาณเมื่อเกิดการรั่วไหล
- ลักษณะการรั่วไหล เป็นการรั่วไหลจากภาชนะบรรจุประเภทใด เช่น ถังเก็บขนาดใหญ่ หีบห่อ ท่อส่ง ฯลฯ
- ความเป็นพิษของสารอันตราย สถานประกอบการมีข้อมูลเกี่ยวกับสารอันตรายหรือไม่

ซึ่งการระงับเหตุฉุกเฉินโดยไม่ทราบข้อมูล อาจก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงยิ่งขึ้น
ดังนั้น ผู้ประสบเหตุกรณีหกหรือรั่วไหลของสารเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานในอาคารเก็บสารเคมี จำเป็นต้องทราบและปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่พนักงานพบสารเคมีหกหรือรั่วไหล ได้กลิ่นสารเคมี หรือพบกลุ่มไอจากสารอันตราย พนักงานดังกล่าวจะต้อง :-
- กดสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
- จะต้องแจ้งให้ศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน หรือผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉินทราบทันที
- ถ้าไม่ทราบวิธีควบคุม หรือแก้ไขเหตุฉุกเฉิน จะต้องรีบออกไปให้พ้นจากอาคารเก็บสารเคมี
- ถ้าพนักงานดังกล่าวเคยผ่านการฝึกซ้อมควบคุมเหตุฉุกเฉินมาก่อน จะต้องดำเนินการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และปฏิบัติตามแนวทางในการปฏิบัติสำหรับสารนั้นๆ


2. กำหนดเขตพื้นที่ที่ปลอดภัย กำหนดเขตอันตราย โดยแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหลทันที ส่วนระยะที่แยกกั้นนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของสารอันตราย โดยทั่วไปกำหนดให้มีการแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหล อย่างน้อย 25-52 เมตร โดยรอบ และทำการอพยพบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยซึ่งได้จัดเตรียมไว้

3. ให้ปฏิบัติต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นด้วยความระมัดระวัง ห้ามเข้าปฏิบัติการ ในกรณีที่ยังไม่ทราบข้อมูลใดๆ เป็นอันขาด ให้เข้าไปยังจุดเกิดเหตุทางเหนือลม เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสไอระเหยของสารนั้น ให้ระลึกอยู่เสมอว่าไอระเหยหรือก๊าซต่างๆ ไม่มีกลิ่น สี และหนักกว่าอากาศ อาจสะสมอยู่พื้นล่างของบริเวณนั้น


4. พิสูจน์ทราบวัตถุอันตราย โดยพิจารณาว่า สารอันตรายที่หกและรั่วไหลนั้นเป็นสารชนิดใด ซึ่งอาจดูได้จากทะเบียนการเก็บกักสารเคมีในอาคาร ตำแหน่งที่มีการหกรั่วไหล รวมถึงประเภทของภาชนะที่ใช้บรรจุสารนั้นๆ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสารนั้นให้ดูจากข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)

5. ประเมินความรุนแรงของเหตุฉุกเฉิน ผู้รับผิดชอบ เช่น ผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย คณะกรรมการ
ความปลอดภัย รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะต้องประเมินสถานการณ์ของเหตุฉุกเฉินทันทีว่ามี
ความรุนแรงเพียงใด เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเหตุฉุกเฉินได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะต้องตัดสินใจ
ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินความรุนแรงของ
เหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- สารดังกล่าวติดไฟ หรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดการติดไฟในบริเวณนั้นหรือไม่
- ปริมาณการหกรั่วไหลของสารนั้น
- อุปกรณ์ในการควบคุมการหก หรือรั่วไหล มีเพียงพอหรือไม่
- อุปกรณ์ในการผจญเพลิง
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล มีเพียงพอสำหรับทีมปฏิบัติการที่เข้าไปยังบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่
- สารที่หก หรือรั่วไหลเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจเกิดระเบิดได้หรือไม่
- มีอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล ที่จะช่วยเหลือผู้ได้รับอันตรายจากสารอันตรายหรือไม่

6. การเข้าดำเนินการระงับเหตุฉุกเฉิน ภายหลังจากที่ได้อพยพพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวรที่หก รั่วไหลแล้ว ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน อาจจำเป็นต้องเข้าไประงับเหตุฉุกเฉินที่แหล่งกำเนิด
เช่นอุดรอยรั่ว ดูดซับสารที่หก ปิดคลุมสารอันตราย ฯลฯ ประเด็นที่ต้องพิจารณาสำหรับ
ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- มีการฝึกซ้อมระงับเหตุฉุกเฉินกรณีหก หรือรั่วไหลเป็นประจำหรือไม่
- พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องหรือไม่
- จะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง เช่น ต้องยืนอยู่เหนือลม พยายามไม่อยู่ใน
ที่ที่ต่ำ เพราะสารอันตรายบางชนิดหนักกว่าอากาศและจะสะสมอยู่ในปริมาณมาก
- ควรระบายอากาศก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่หก รั่วไหล
- ปฏิบัติตามข้อมูลเคมีภัณฑ์ สำหรับสารอันตรายชนิดนั้นๆ อย่างเคร่งครัดในการควบคุมการหก รั่วไหล

7. การดำเนินการภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน
- สวบสวนถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติภัยดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันต่อไป
- สำรวจความเสียหาย ทั้งที่เกิดต่อบุคคล ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม
- ประเมินประสิทธิภาพของมาตรการป้องกัน และควบคุมเหตุฉุกเฉินที่ใช้อยู่
- ประเมินประสิทธิภาพของทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อปรับปรุงแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ


นักวิชาการ แนะภาครัฐทำแผนกระจายสารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม หวังป้องกันปัญหาสารเคมีรั่วไหล


โพสเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2553 เวลา 17:00 น.

นักวิชาการ แนะภาครัฐทำแผนกระจายสารเคมีอันตรายพร้อมออกกฎหมายรองรับให้ประชาชนมีสิทธิรับรู้สารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม หวังป้องกันปัญหาสารเคมีรั่วไหลพร้อมเตรียมรับมือแก้ปัญหาได้ทัน ในการเสวนาเรื่องปัญหาก๊าซรั่ว ขยะสารเคมี และมลพิษในนิคมอุตสาหกรรมจะแก้ปัญหาอย่างไร ที่ โครงการสมองไหลกลับ ร่วมกับศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดขึ้น ศ.ดร.เมธี เวชารัตนา คณะวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีแห่งนิวเจอซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ปัญหาการรั่วไหลของสารเคมี ก๊าซพิษ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไทยยังขาดกระบวนการติดตามตรวจสอบการจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกต้อง รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมมีการปกปิดข้อมูล เนื่องจากเกรงว่าอาจเกิดผลเสียกับภาพลักษณ์ขององค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายมากยิ่งขึ้น ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดการสารเคมีอย่างเป็นระบบ โดยจัดตั้งสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ หรือ EPA เพื่อดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมรายงานจำนวนสารเคมีที่ครอบครองและสถานที่เก็บเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมกูภัยสารเคมีทราบและเตรียมรับกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่มีข้อมูลดังกล่าว ดังนั้น ต้องมีแผนกระจายสารเคมีอันตรายในโรงงาน เพื่อให้ทราบว่าประเทศไทยมีโรงงานที่จังหวัดใดบ้าง และแต่ละโรงงานมีสารเคมีที่เป็นอันตรายอยู่ปริมาณเท่าใด ซึ่งจะทำให้ทราบจุดเสี่ยงและเตรียมพร้อมรับมือได้ทัน ด้านนายสุเมธา วิเชียรเพชร ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการฉุกเฉิน และฟื้นฟู กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัญหาก๊าซหรือสารเคมีรั่วไหลที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ทั้งนี้ เสนอให้ภาครัฐต้องมีนโยบายให้โรงงานอุตสาหกรรมแจ้งบัญชีสารเคมีที่เป็นอันตรายร้ายแรงกับเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแผนที่การกระจายสารเคมีอันตรายร้ายแรง และเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อม เช่น การจัดซื้อเครื่องมือตรวจวัดสารเคมี ยาที่ใช้รักษา นอกจากนี้ ต้องมีกฎหมายรองรับให้ประชาชนมีสิทธิที่จะรับรู้สารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อร่วมกันเฝ้าระวังมากขึ้น

แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน และตัวอย่าง

แค่ไหนเรียก --ฉุกเฉิน--

จาก http://www.training.moodyinfo.com/index.php/iso-article/350-emergency-plan.html

ภาวะฉุกเฉินคือ ภาวะที่เป็นอันตราย หรือภาวะที่จะเกิดอันตรายที่จะเกิดแฝงอยู่ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคล ทรัพย์สิน

หรือ เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ทันทีทันใดซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ตาย หรือทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสียหายได้

ที่น่าสนใจคือ บางองค์กรแม้ว่ามีการใช้สารเคมี แต่ไม่จำเป็นต้องจัดให้เป็นเหตุฉุกเฉินเสมอไป (ที่สำคัญคืออันตรายไหม และ ควบคุมได้ทันทีทันใดไหม)

แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน ที่ดีเป็นอย่างไร


แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน มีไว้เพื่อให้ฝ่ายบริหารและพนักงานทุกระดับได้ทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นแผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉินที่ดีจึงต้องกำหนด หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารจัดการ พนักงาน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานวิธปฏิบัติ อุปกรณ์ในการป้องกันและระงับเหตุ การบรรเทาทุกข์ และ การปฏิบัติพื้นฟูภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน จะละเอียดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสภาวะของความรุนแรง และ ฝูงชนที่เกี่ยวข้อง

ต้องละเอียดแค่ไหน


แผนจะมีลายละเอียดมากน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนคนมากหรือน้อย รวมถึงขอบเขตของภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อย่างเช่น สารเคมีแต่ละชนิดมีความเป็นอันตรายที่แตกต่างกัน ปริมาณการจัดเก็บที่แตกต่างทำให้ภาวการณ์เกิดอันตรายที่เรียกว่าฉุกเฉินแตกต่างกันไป

1. การรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉิน (วิธี หัวข้อ และ สิ่งที่ต้องกระทำเมื่อได้รายงาน)
2. การตอบรับ (ผู้ที่ต้องไปยังที่เกิดเหตุทันที่ ผู้รับผิดชอบในการประเมินสถานการณ์ ผู้ที่ระบุ ภาวะความรุนแรงของสถานการณ์ )
3. สิ่งที่ต้องทำทันที ( การให้สัญญาณ การเดินเครื่องสูบน้ำ การเรียกเจ้าหน้าที่ การอพยพ การสั่งเริ่มแผนรักษาผู้ประสบภัย
4. การติดต่อเจ้าหน้าที่ทางการ การก่อตั้งศูนย์ควบคุมฉุกเฉินและการใส่เครื่องหมายแสดงตัว )
5. การควบคุมจราจร
6. การควบคุมประตูเข้า
7. การอธิบายขั้นตอนวิธีปฏิบัติ การปฏิบัติของหน่วยผลิต การปฏิบัติของการดับเพลิง การควบคุมกลุ่มกาซ การตรวจนับผู้ที่ทำงาน การจัดการเรื่องการรายงานตัวของผู้มาใหม่ การควบคุมจราจร แผนรองรับในกรณีเกิดการสูญเสีย
8. การอพยพ ป้ายชี้บอกทางหนี ถุงลมที่แสดงทิศทางลม การใช้วิทยุติดต่อให้รู้ว่าหนีไปทางไหน จุดรวมพลที่สามารถตรวจนับ )
9. การเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน (เมื่อไหร่ ใครกำหนด ใครรับผิดชอบ)

แผนฉุกเฉินแต่ละชนิดเหมือนกันหรือไม่

ไม่เหมือนกันหรอก

หากเป็นเรื่องไฟไหม้ อาจมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับ การจัดระบบในการหยุดเครื่องจักรต่างๆในเวลาฉุกเฉิน การปิดกั้นอุปกรณ์ (อันนี้สำคัญเพราะหลายๆโรงงานเอาแต่จะวิ่งและรวมพลท่าเดียว !!!) เทคนิคในการดับไฟแต่ละชนิด ชนิดของน้ำยาและอุปกรณ์ เทคนิคการใช้น้ำฉีดเลี้ยงอุปกรณ์ การเคลื่อนย้ายกำลังพล อุปกรณ์ก่อนการดำเนินการฉีดโฟม การจัดระบบสำรองของน้ำดับเพลิง

(องค์กรไหน มีแผนฉุกเฉินเรื่องไฟใหม้แต่ไม่ระบุวิธีจัดการกับการหยุดเครื่อง การปิดกันอุปกรณ์ โดยลอกมาจากบริษัทที่มาอบรม ที่เน้นแต่วิ่งหนี อันนี้เป็นแผนฉุกเฉินที่ใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีประโยชน์ในการลดความสูยเสียให้กับบริษัทคุณ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรฐาน ISO14001)

หากเป็นก๊าซรั่ว อาจมีรายละเอียด สัญญาณเตือนภัย คำสั่งที่ต้องปฏิบัติทันที การหยุดงาน hotwork การอพยพคน การลดอันตรายจากกลุ่มก๊าซ การแจ้งผู้ที่อยู่ใต้ลม การประเมินอันตรายที่อาจลุกลาม การปิดถนน การใช้น้ำฉีดไล่กลุ่มก๊าซ การใช้เครื่องช่วยหายใจและเครื่องป้องกันอันตราย

ยังมีเหตุการณ์อื่นๆอีกเช่น น้ำท่วม การรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี ... .ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะ แผนฉุกเฉินแต่ละองค์กรไม่เหมือนกันหรอก ดังนั้นต้องมีความเข้าใจพื้นฐานก่อนเขียนแผน .

ขั้นตอนการเตือนภัยครั้งแรก

ควรจะทำอะไรบ้างเมื่อได้พบเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม(หรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้) จะติดต่อกับใคร หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินอะไร รายงานเหตุการณ์ต่อใคร แก้ไขปัญหาขั้นต้นอย่างไร


กำหนดสายการบังคับบัญชา

อธิบายโครงสร้างองค์กรของทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินว่าใครเป็นคนสั่งการ สายการรายงานเป็นอย่างไร แต่ละคนต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง

อธิบายการแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินระดับต่างๆ
กำหนดหัวข้อแผนปฏิบัติการสำหรับเหตุการณ์ไฟไหม้ สารเคมีรั่วไหล ก๊าซรั่ว หรืออื่นๆในระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 และรวมถึงการกำหนดคำสั่งการ การดูแลความปลอดภัยของพื้นที่เกิดเหตุ การแจ้งขอความช่วยเหลือจากภายนอก การสื่อสารทั้งภายในและภายนอก แผนการอพยพ (ทั้งในโรงงานและพื้นที่ใกล้เคียง) จุดรวมพล วิธีการลดและขจัดผลกระทบ

การรายงาน
กำหนดว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินภายในโรงงานและองค์กร และรายงานต่อหน่วยงานนอกองค์กร อาทิ ชุมชน หน่วยงานรัฐ และสื่อสารมวลชน


การค้นหาอุบัติการณ์
อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินหลังเสร็จสิ้นเหตุการณ์นั้นแล้ว เพื่อสืบค้นหาสาเหตุและวิธีการป้องกันและแก้ไขมิให้อุบัติการณ์นั้นเกิดขึ้นอีก


การฝึกซ้อมการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉิน
ISO 14001 กำหนดให้มีการซ้อมแผนฉุกเฉินหากทำได้ในทางปฏิบัติ กำหนดการซ้อมแผนฉุกเฉินควรครอบคลุมเหตุฉุกเฉินชนิดต่างๆและทุกพื้นที่ ควรมีการประเมินประสิทธิผลของการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและปรับปรุงให้ดีขึ้นหากจำเป็น หรือทำการซ้อมเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลตามที่กำหนดไว้
แผนการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินฉบับสำเนาต้องแจกจ่ายให้ทั่วทั้งองค์กรและทุกคนต้องรับรู้ถึงขั้นตอนการเตือนภัยครั้งแรกและการอพยพ สมาชิกของทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องเป็นผู้นำในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและทุกๆคนในพื้นที่ควรได้รับการฝึกซ้อมการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินและการอพยพ ควรจัดเก็บบันทึกผลการฝึกซ้อมและบันทึกการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการแก้ไขปัญหากรณีเหตุฉุกเฉิน
สิ่งที่นอกเหนือไปจากเอกสารอื่นๆคือแผนการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นต้องทำให้ทันสมัยอยู่เสมอ ประกอบด้วย รายชื่อบุคคลและหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ในปัจจุบัน และการอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานเฉพาะที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น

Download : ตัวอย่างแผนฉุกเฉินนี้ (เป็นแผนฉุกเฉินที่จัดทําที่เหมาะกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหนักๆ ครับ ต้องปรับให้เหมาะนะครับ)


การวางแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน

การวางแผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน
เหตุฉุกเฉิน หมายถึง เหตุการณที่ไมตองการใหเกิดขึ้น ซึ่งอาจทําใหเกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิตและเกิดความเสียหายตอทรัพยสิน
หรืออาจทําใหเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมภายนอกสถานประกอบการ โดย ที่สถานการณนั้นเกินกําลังความสามารถของ
เจาหนาที่หรือพนักงานคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถควบคุม สถานการณไดในทันทีทันใด ตัวอยางเชน การเกิดเพลิงไหมที่มี
เชื้อเพลิงปริมาณมาก การระเบิดที่เกี่ยวของกับสารเคมีปริมาณมาก หรือสารเคมีรั้วไหลในปริมาณมาก เปนตน
ประเภทของเหตุฉุกเฉิน พบบอยในโรงงานหรือสถานประกอบการ ไดแก การเกิดเหตุเพลิงไหม การระเบิด และสารเคมี
รั่วไหล
การเกิดเพลิงไหม
- การเกิดเพลิงไหมโดยปราศจากการระเบิด
- การเกิดเพลิงไหมและมี เหตุการณอื่นรวมดวย เชน การระเบิด และสารพิษ
- การเกิดเพลิงไหมภายหลังการระเบิด
การระเบิด
- การระเบิดที่เกิดจากวัตถุระเบิด
- การระเบิดจากการทําปฏิกิริยาของไอเชื้อเพลิงกับอากาศ
- การระเบิดจากผง ฝุน เชน ถานหิน แปงมัน ขาวโพด น้ําตาล จะรุนแรงกวา การทําปฏิกิริยาจากไอ ยิ่งผงฝุนมีขนาด
เล็ก ก็ จะระเบิดไดรวดเร็ว และ รุนแรง
- การระเบิดจากการขยายตัวของสารและกาซภายใตความอัดดัน
- การระเบิดจากปฏิกิริยาฟชชัน หรือฟวชัน เชน การระเบิดของไฮโดรเจน การระเบิดของนิวตรอน
สารเคมีหกรั่วไหล
- ของเหลวที่ใหไอเปนพิษ เชน เบนซิน คารบอนไดซัลไฟด คลอลีน กรดกํามะถัน
- กาซพิษ เชน ฟอสจีน ไฮโดรเจนซัลไฟด ไฮโดรเจนไซยาไนด แอมโมเนีย
กฎหมายที่เกี่ยวของกับการปองกันและ ระงับเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย
1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การปองกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ
2. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2536 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
3. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542 เรื่องมาตรการคุมครองความปลอดภัยในการดําเนินงาน
หนวยงานที่เกี่ยวของในการระงับเหตุฉุกเฉิน คือ
1. นิคมอุตสาหกรรม
2. กรมควบคุมมลพิษ
แนวคิดในการวางแผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน
แบงระดับภาวะฉุกเฉินเปน 3 ระดับ
ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 1 ไดแก ภัยหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการที่มีผลกระทบตอชีวิตและทรัพยสินไมมากนัก
ความรุนแรงอยูในบริเวณที่เกิดเหตุ บุคลากรของโรงงานสามารถใชทรัพยากรของตนเองเขาควบคุมระงับเหตุได
ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 2 ภัยหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการและอาจลุกลาม เกินความสามารถของบุคลากร ตอง
ขอความชวยเหลือจาก บุคลากร หรือหนวยงานอื่น เขามาชวย2
ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 3 กรณีที่ภัยหรือเหตุฉุกเฉินไดลุกลามขยายขนาดใหญ ขอความชวยเหลือไปยังกองอํานวยการปองกัน
ภัย จังหวัดศูนยอํานวยการรวมปฏิบัติ
การวางแผนและระงับเหตุฉุกเฉินมีความสําคัญตอสถานประกอบการ 4 ประการ ดังนี้ คือ
1. สามารถชวยชีวิตผูที่ตกอยูในอันตราย
2. จํากัดความเสียหายตอทรัพยสินและสิ่งแวดลอม
3. สามารถคนหาสาเหตุของเหตุฉุกเฉินไดอยางมีประสิทธิภาพ
4. ชวยปกปองชื่อเสียงของสถานประกอบการ
ประเภทของแผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน แบงเปน 3 ประเภท คือ
1. แผนปองกันเหตุฉุกเฉิน (ระยะกอนเกิดเหตุ)
2. แผนระงับ ควบคุม ตอบโตภาวะฉุกเฉิน (ระยะเกิดเหตุ)
3. แผนฟนฟู (ระยะหลังเกิดเหตุ)
การเตรียมความพรอมและการปองกันเหตุ ฉุกเฉิน
แผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉินเปนแววทางในปฏิบัติในสถานการณฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งผูปฏิบัติการจะตองยึดเปน
เกณฑในการตัดสินใจและเปนขอมูลในการทํางาน ดังนั้นการจัดเตรียมเอกสารและขอมูลที่ใชในการวางแผนจึงมีความสําคัญ
และควรเปนขอมูลที่ถูกตองสมบูรณและสามารถนําไปใชประโยชนได
ขอมูลที่จะอยูในแผนฉุกเฉินควรประกอบไปดวยขอมูลตางๆ ดังนี้ หมายเลขโทรศัพทฉุกเฉิน ขอมูลทั่วไปของโรงงาน เกณฑ
การพิจารณา เหตุการณฉุกเฉิน บทบาทหนาที่ และความรับผิดชอบ การสื่อสาร คูมือหรือวิธีปฏิบัติการปองกันและระงับเหตุ
ฉุกเฉิน อุปกรณ เครื่องมือ และสถานที่ที่ใชในการปฏิบัติฉุกเฉิน การทดสอบตามแผนการที่วางไว การพัฒนาแผน และการ
บํารุงรักษา เอกสารแสดงความเปนอันตรายของวัตถุอันตราย แผนผังโรงงาน และแผนที่แสดงบริเวณโรงงาน การอบรม
พนักงาน และ เจาหนาที่ปฏิบัติการ และระเบียบปฏิบัติในการายงาน แบบฟอรม
การจัดเตรียมศูนยควบคุมเหตุฉุกเฉิน
ศูนยควบคุมเหตุฉุกเฉินควรมีสถานที่ตั้งอยูหางจากบริเวณที่เสี่ยงตอการเกิดเหตุฉุกเฉินโดยจัดใหมีอยางนอย 2 แหง ซึ่งอยูใน
ทิศทางลมตางกัน และควรออกแบบใหทนไฟและทนแรงระเบิดได รวมทั้งมีอุปกรณในการติดตอสื่อสารและอุปกรณ
ประกอบที่จะใชในการสั่งการตอบโตภาวะฉุกเฉินอยางครบครัน
การจัดเตรียมสัญญาณเตือนภัย
สัญญาณเตือนภัยจะตองทํางานทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและสามารถสงสัญญาณใหผูปฏิบัติงานในทุกพื้นที่สามารถไดยินและ
ปฏิบัติตามที่กําหนดไวในแผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉินไดถูกตองและทันการ ดังนั้นการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยควร
จะตองติดตั้งตามจุดตางๆที่มีผูปฏิบัติงานตลอดเวลา หรือเปนจุดที่มีความเสี่ยตอการเกิดเหตุฉุกเฉิน เชน
- หองควบคุม หรือ Control room ของโรงงาน
- สํานักงานรักษาความปลอดภัยหรือปอมยาม
- ศูนยควบคุมภาวะฉุกเฉิน
- อาคารสํานักงานภายในบริเวณโรงงาน
- จุดที่ใกลบริเวณถังเก็บสารเคมีอันตราย หรือเชื้อเพลิง
3
อุตสาหกรรมแตละชนิดยอมมีความซับซอนแตกตางกันทั้งการผลิต และการขนสง การจัดเก็บสารเคมีอันตรายตางๆ ดังนั้น
การสรางทีมที่จะตองปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินตามความเหมาะสมกับแตละโรงงานนั้นตองมีการคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู
และความเชี่ยวชาญสามารถปฏิบัติการไดทันทีเมื่อมี เหตุการณฉุกเฉินเกิดขึ้น
ผูมีคุณสมบัติเปนทีมปฏิบัติการปองกันและระงับเหตุฉุกเฉินจะตองมีคุณสมบัติดังนี้
- พนักงานที่โดยปกติทํางานเกี่ยวของกับสารเคมีอันตรายโดยตรงอยูแลว
- มีสุขภาพแข็งแรง
- นักเคมีหรือ วิศวกรเคมี
- ผูที่สามารถทําการปฐมพยาบาลชวยชีวิต
สถานประกอบการจะตองจัดใหมีการฝกอบรมการดับเพลิง และการฝกซอมแผนฉุกเฉิน เพื่อสื่อสาร ใหความรู และฝกปฏิบัติ
ใหเกิดทักษะในการปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน พรอมทั้งสามารถอพยพออกตามเสนทางหนีไฟไดอยางปลอดภัย
แนวทางการดําเนินงานในการฝกซอมแผนฉุกเฉิน มีดังตอไปนี้
1. จัดใหมีการฝกอบรมการดับเพลิงขั้นตนแกพนักงาน อยางนอย 40% ตามกฎหมาย
2. จัดใหมีการฝกอบรมการดับเพลิงขั้นสูงแกพนักงานที่ไดรับมอบหมายพิเศษใหทําหนาที่พนักงานดับเพลิงใหได
จํานวนตามความเหมาะสมของความเสี่ยง
3. จัดใหพนักงานทุกคนไดรับการฝกอบรมเกี่ยวกับแผนการปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน การใชอุปกรณตางๆ ในการ
ดับเพลิง การปฐมพยาบาลและการชวยเหลือฉุกเฉินอยางนอยปละ 1 ครั้ง
4. จัดใหมีการซอมแผนตอบโตภาวะฉุกเฉินและฝกการอพยพออกจากอาคารไปตามทางหนีไฟอยางปลอดภัย อยางนอย
ปละ 1 ครั้ง
มาตรการในการระงับและฟนฟูเหตุฉุกเฉิน
มาตรการที่ควรปฏิบัติเพื่อระงับเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน ควรคํานึงถึง
ปจจัยพื้นฐานของการเกิดเหตุการณฉุกเฉินและเทคนิคที่เปนไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร มาตรการระงับ เหตุฉุกเฉินที่
สําคัญคือ การระงับเหตุกรณีไฟไหม การระงับเหตุกรณีสารเคมีรั่วไหล และการระงับเหตุกรณีที่เกิดนอกโรงงาน
มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินกรณีไฟไหม
1 เมื่อพบวามีเพลิงไหมใหกดสัญญาณเตือนภัย เพื่อแจงเหตุทันที
2 ใหหยุดการทํางานทันที หากเปนเชื้อเพลิงไหมขนาดใหญตองโทรศัพทแจงหนวยดับเพลิง
3. ใหดําเนินการดับเพลิงใหมากที่สุดเทาที่จะมากได
4. ถามีไฟฟา หรืออุปกรณไฟฟาลุกไหม หามใชน้ําฉีด
5. แยกเชื้อเพลิงออกจากแหลงที่เกิดเพลิงไหมออกไปใหไกล หรือฉีดน้ําคลุมกันไฟ
6. ถาเปน ภาชนะบรรจุกาซ ทอบรรจุกาซ ใหใชน้ําฉีดคลุมไวเพื่อปองกันการระเบิด
มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินในกรณีสารเคมีรั่วไหล ตองประเมินสถานการณกอเขาไประงับเหตุ ใชอุปกรณคุมครองความ
ปลอดภัยสวนบุคคล เชน ชุดหนากากปองกันสารเคมี
1. เขาไปที่เกิดเหตุทางดานเหนือลม ดูใหแนชัดวาเปนสารเคมีประเภทอะไร ตัวเลข 4 ตัว บนแผนปายสีสม
2. มองหาตัวเลขสามตัว ที่ บอกหรือแนะนํา ตัวเลขดัชนี ประเภทเคมีภัณฑ ชื่อสารเคมี ชื่อทางการคา วิธีปดวาลว
ระยะหางที่ปลอดภัย
3. พิจารณาการชวยเหลือคนที่ประสบภัยถาทําได
4. พื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุตองกันไมใหคนเขาไป เพื่อปองกันการไดรับสารพิษ
มาตรการรองรับภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน
เพื่อปองกันหรือลดความรุนแรงของปญหาที่จะตามมาภายหลังการปฏิบัติภารกิจระงับเหตุฉุกเฉิน เชน มาตรการฟนฟูเหตุ
ฉุกเฉินที่สําคัญ มีดังนี้เชน การชําระลางการปนเปอนสารเคมี การกําจัดขยะอันตราย การชวยเหลือและคนหาผูประสบภัย เปน
ตน
1. การชําระลางเสื้อผาและผิวหนังผูปฏิบัติงานระงับเหตุฉุกเฉิน
2. การกําจัดขยะอันตราย
3. การลางเครื่องมืออุปกรณที่ปนเปอน
4. การชวยเหลือและคนหาผูประสบภัย
5. การใหขาวตอสื่อมวลชน

การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ

การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ

อ.สุพรรณิการ์ ธรรมนิทัศนา
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
14/12/2552

บทนำ
ในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงสภาวะการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับการบริหารจัดการองค์กรประเภทใดก็ตามให้บรรลุผลสำเร็จ จึงต้องมีการเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกขององค์กร ที่มีความหลากหลายมากขึ้นเป็นลำดับ หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าความเสี่ยงคืออะไร ทำไมต้องทำการบริหารความเสี่ยง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงให้อยู่หมัด เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ความเสี่ยง คืออะไร ?
หลายท่านคงเคยพบเจอกับสภาวะความเสี่ยงต่างๆ เช่น เหตุการณ์ความไม่แน่นอนของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจนอาจนำไปสู่การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ ความแปรปรวนของราคาหุ้นที่เราลงทุนไว้ ซึ่งอาจนำไปสู่การได้รับอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าจำนวนที่คาดหวังไว้ หรือ ความไม่แน่นอนที่จะเกิดพายุหนักจนอาจทำให้บ้านเรือน สถานที่ต่างๆ พัง เสียหาย หรืออาจทำให้ธุรกิจบางประเภทต้องหยุดชะงักไป เป็นต้น เหตุการณ์ต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความเสี่ยงประเภทต่างๆ ที่หากเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ได้มีผู้เชี่ยวชาญให้คำจำกัดความของคำว่า “ความเสี่ยง (Risk)” แตกต่างกันไปตามความเชี่ยวชาญ และ ตามมุมมองของตนไว้มากมาย แต่สาระสำคัญของความหมายที่เหมือนกันของคำว่าความเสี่ยงที่เหมือนกัน คือ เหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วอาจนำไปสู่ความสูญเสีย

แหล่งที่มาของปัจจัยเสี่ยง
ความเสี่ยง มีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงอันเกิดขึ้นจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในองค์กร
ปัจจัยเสี่ยงที่มาจากอิทธิพลภายนอก (External Risk Factors) คือ ความเสี่ยงที่องค์กรไม่สามารถควบคุมการเกิดได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ / สังคม / การเมือง / เทคโนโลยี / สิ่งแวดล้อม ภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจ ความต้องการของลูกค้า รวมถึงกฎหมายและระเบียบทางราชการ
ปัจจัยเสี่ยงที่มาจากอิทธิพลภายใน (Internal Risk Factors) คือ ความเสี่ยงที่องค์กรสามารถควบคุมได้โดยแต่ละองค์กรย่อมมีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของธุรกิจ ซึ่งอาจมีได้หลากหลายปัจจัย เช่น การบริหารจัดการองค์กร ความรู้ความสามารถของบุคลากร กระบวนการทำงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ การบริหารสภาพคล่อง การวางแผนงบประมาณ การประมาณการทางการเงิน เป็นต้น

ความเสี่ยง 8 ด้าน ที่องค์กรควรทำความรู้จัก
ความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยให้องค์กรมองภาพความเสี่ยงในแต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน จะขอความเสี่ยงออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้
1.) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินธุรกิจ และการนำแผนไปปฏิบัติไม่เหมาะสม อันส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งมีที่มาทั้งจากปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงความต้องการของกลุ่มลูกค้า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของทางราชการ และปัจจัยเสี่ยงภายใน เช่น การบริหารจัดการขององค์กร โครงสร้างขององค์กร
2.) ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่คู่สัญญาทางการเงินฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามข้อสัญญา ซึ่งส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางการเงินกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
3.) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) คือ ความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาสินทรัพย์หรือหนี้สินที่อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ อาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลอดจนความผันผวนของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค
4.) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ธุรกิจมีกระแสเงินสดรับไม่เพียงพอสำหรับกระแสเงินสดจ่าย หรือไม่สามารถที่จะแปลงสินทรัพย์ให้เป็นเงินสดได้ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องนี้มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงด้านตลาดและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเสี่ยงด้านเครดิต
5.) ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากระบบงานขององค์กร กระบวนการปฏิบัติงานภายใน เทคโนโลยี หรือ บุคลากรภายในองค์กรเอง ตัวอย่างเช่น ความผิดพลาดของกระบวนการผลิต ความผิดพลาดหรือการละเว้นของผู้ปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน หรือการขาดการควบคุมภายในที่ดี รวมทั้งการทุจริตของพนักงานด้วย
6.) ความเสี่ยงด้านวิบัติภัย (Hazard Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากภัยอันตราย หรือ การเกิดภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ สึนามิ รวมไปถึงภัยจากผู้ก่อการร้ายต่างๆ เป็นต้น
7.) ความเสี่ยงด้านกฎหมาย (Legal Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจหรือการทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่างๆ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งในรูปตัวเงิน เช่น ค่าเสียหายที่ต้องชดใช้ตามคำพิพากษา และความเสียหายที่ไม่อยู่ในรูปของตัวเงิน เช่น การสูญเสียชื่อเสียง และความเชื่อมั่นของลูกค้า
8.) ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputation Risk) คือ ความเสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียงของสถาบันหรือองค์กรนั้นๆ ซึ่งนับเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง แต่ในปัจจุบันต้องถือว่าเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาลต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากชื่อเสียงขององค์กรนั้น ได้มาจากการสั่งสมความเชื่อถือ ความไว้ใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งจากนักลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า รวมถึงพนักงานภายในองค์กรกับองค์กร

การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ
ในแง่ของการทำธุรกิจ อัตราการเจริญเติบโตและกำไร ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) อย่างไรก็ดีการเน้นความเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำกำไรโดยปราศจากการควบคุมความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงนั้น มักก่อให้เกิดผลเสียกับการดำเนินธุรกิจ โดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการทำความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเอื้ออำนวยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงในระยะยาวได้
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา “การบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management)” เป็นเทคนิคทางการบริหารที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน ทั้งที่เป็นสถาบันการเงินและที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เหตุผลส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบทเรียนจากความสูญเสียเมื่อครั้งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยปี พ.ศ. 2540 (วิกฤติต้มยำกุ้ง) รวมไปถึงการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกเมื่อประมาณปลายปี 2551 ที่ผ่านมา (วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์)



การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพย่อมช่วยลดโอกาสหรือขนาดของความสูญเสียจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และยังส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าขององค์กรอีกด้วย

กระบวนการการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Process) เป็นกระบวนการที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ให้อยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ (Establish the Context) ในขั้นแรกของการบริหารความเสี่ยงนั้น ควรจะทำการกำหนดวัตถุประสงค์การบริหารความเสี่ยงขององค์กรให้ชัดเจน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์จะช่วยให้เข้าใจถึงสภาพการดำเนิน งานขององค์กร สามารถระบุและกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งที่มาจากแหล่งปัจจัยเสี่ยงปัจจัยภายใน และภายนอกองค์กร นอกจากนั้นยังต้องมีการสื่อสารให้ทุกคนภายในองค์กรได้รับทราบ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนที่ 2 การระบุความเสี่ยง (Risk Identification) เป็นขั้นตอนของการค้นหาความเสี่ยง ว่าจะมีความเสี่ยงใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร วิธีที่นิยมใช้ในการระบุความเสี่ยง คือ การประชุมร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ ขององค์กรเพื่อทำการระบุความเสี่ยงร่วมกัน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เป็นขั้นตอนของการประเมินโอกาสในการเกิดความเสี่ยง (Likelihood) ของเหตุการณ์ความเสี่ยงนั้นๆ ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด และประเมินระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Consequence) ทั้งในเชิงคุณภาพ เช่น ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กร และในเชิงปริมาณที่สามารถวัดได้เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยบางสถานการณ์ การเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอาจส่งผลกระทบในระดับต่ำ ในขณะที่บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจมีผลกระทบในระดับสูงต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร
ขั้นตอนที่ 4 การจัดการความเสี่ยง (Treat Risks) เป็นการกำหนดแนวทางที่เหมาะสม เพื่อจะทำการจัดการกับความเสี่ยง ได้แก่
1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เป็นการตัดสินใจหลีกเลี่ยงความเสี่ยง, หยุด หรือ เปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่เป็นความเสี่ยง เช่น การหยุดหรือยกเลิกงาน/กิจกรรม ที่เห็นว่ามีความเสี่ยงสูง และไม่สามารถรับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้, การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการหรือระบบต่าง ๆ เป็นต้น
2. การลดโอกาสเกิดความเสี่ยง เป็นการลดโอกาสความน่าจะเป็นในการเกิดความเสี่ยงนั้น เช่น การจัดทำระบบคุณภาพ การตรวจสอบและการติดตามการปฏิบัติงาน ฯลฯ
3. การลดผลกระทบความเสี่ยง เป็นการหามาตรการในการลดความรุนแรงของผลกระทบจากความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เช่น การมีแผนสำรองฉุกเฉิน การแบ่งขนาดโครงการให้เล็กลง เป็นต้น
4. การถ่ายโอนความเสี่ยง เป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ไปยังผู้อื่น/หน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กรที่มีความสามารถเพียงพอในการควบคุมความเสี่ยงได้ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การทำประกันภัยทรัพย์สิน และการประกันภัยอุบัติเหตุกับบริษัทประกันภัย การจัดจ้างผู้ชำนาญงานหรือบุคคลภายนอก (Outsource) ในแต่ละด้านที่ขาดความถนัดมาช่วยงาน หรือ การจัดทำสำเนาเอกสารหลายๆ ชุด เป็นต้น
5. การยอมรับความเสี่ยง เป็นการยอมรับให้มีความเสี่ยงนั้นๆ ปรากฏอยู่ อาจเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือการสร้างระบบการควบคุม มีมูลค่าสูงกว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 5 การติดตามและสอบทาน (Monitoring and Review) เมื่อได้ทางเลือกที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยงแล้ว ควรจะต้องมีการติดตามผล เนื่องจากว่าความเสี่ยงแต่ละประเภทจะเปลี่ยนไปตามระยะเวลาและความเสี่ยงประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ยิ่งไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ หรือการเพิ่มระดับของความเสี่ยงเดิมให้มากขึ้นได้ การติดตามและประเมินผลจึงไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของการบริหารความเสี่ยง แต่เป็นขั้นตอนที่นำไปสู่การจัดการระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีความต่อเนื่องและทันต่อเหตุการณ์

สรุป
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าท่านจะใช้ชีวิตส่วนตัว เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือทำงานในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทั้งสิ้น หากเรามีการเตรียมการและสามารถรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เท่ากับเป็นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ทำให้สามารถผ่าฟันวิกฤติต่างๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์ได้เป็นอย่างดี
วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กู้วิกฤตถังเก็บก๊าซ เก็บสารเคมี CATASTROPHIC FAILURE OF STORAGE TANKS


CATASTROPHIC FAILURE OF STORAGE TANKS

PROBLEM

Catastrophic failures of aboveground, atmospheric storage tanks can occur when flammable vapors in the tank explode and break either the shell-to-bottom or side seam. These failures have caused the tanks to rip open and, in some cases, hurled the tanks through the air. A properly designed and maintained storage tank will break along the shell- to-top seam. Then, the fire would more likely be limited to the damaged tank and the contents would not be spilled. This alert describes the types of tanks that may be prone to catastrophic failure and maintenance practices that can help prevent the accidents.

RECENT ACCIDENTS

Several accidents have occurred within the last few years in which storage tanks have failed catastrophically when the flammable vapors inside an atmospheric tank exploded. The tank was either propelled upward from its base (shell-to-bottom seam failed) or split along the side seam. As a result, workers were killed or injured and the contents were released into the environment Three specific incidents demonstrate the potential dangers posed to workers, the public, and the environment when these storage tanks fail catastrophically. In these incidents, the shell-to-bottom seam failed after an explosion and the tank was propelled upward. All occurred in older, atmospheric steel storage tanks. Often workers were performing tank maintenance or other activities that introduced an ignition source. The vapors were ignited either inside the tank or outside and then flashed back into the tank.

In a 1995 incident, during a welding operation on the outside of a tank, the combustible vapor inside two large, 30-ft. diameter by 30-ft. high, storage tanks exploded and propelled the tanks upward one landing more than 50 feet away. The flammable liquid inside was instantly released and ignited, resulting in a massive fire that caused five deaths and serious injuries.

In a 1992 incident, while workers were welding the outside of a tank empty of liquid, the residual vapor in the storage tank exploded and propelled the tank upward and into an adjacent river. Three workers were killed and one was injured.

In a 1994 incident, during a grinding operation on a tank holding petroleum

based sludge, the tank was propelled upward, injuring 17 workers and spilling its contents over a containment berm into a nearby river.

HAZARD AWARENESS

Tank design and inspection/maintenance practices are factors directly related to catastrophic tank failure.

Tank design

Historically, accidents where the shell-to-bottom seam fails are more common among older storage tanks. Steel storage tanks built before

1950 generally do not conform to current industry standards for explosion and fire venting. Atmospheric tanks used for storage of flammable and combustible liquids should be designed to fail along the shell-to-roof seam when an explosion occurs in the tank. This prevents the tank from propelling upward or splitting along the side. Several organizations have developed standards and specifications for

storage tank design. Published standards relevant

to this design feature include API-650,”Welded Steel Tanks for Oil Storage” issued by the American Petroleum Institute (API). Additional codes and standards, published by API and other organizations, address tank design, construction, venting, and safe welding and are listed at the end of this alert.

Poor inspection, maintenance, and repair practices

Tanks that are poorly maintained, rarely inspected, or repaired without attention to design, risk catastrophic failure in the event of a vapor explosion. Either weakening of the shell- to-bottom seam through corrosion or strengthening the shell-to-roof seam relative to the shell-to-bottom seam will increase the vulnerability of the tank to failure along the shell-to-bottom seam. The practice of placing gravel and spill absorbants around the base of the tank, may increase the likelihood of bottom corrosion. Given years of this practice, the bottom of some tanks, especially older ones, may be below ground level, thereby trapping

moisture along the tank bottom. This can weaken the bottom and the shell-to-bottom seam. Alternatively, changes to the roof seam such as modifications to or replacement of the roof, or attachments to the roof, could make the roof-to-shell seam stronger relative to the shell- to-bottom seam.

Other hazards that can contribute to a tank explosion and possible consequences are:

Combustible vapors

Generation of combustible vapors is a hazard not only for the storage of pure flammable liquids but also for the storage of any sludge or mixture where a combustible component is present or can be produced by reaction. Sludge (slop tanks) and mixture (e.g., oil/water) tanks may be particularly vulnerable because they are sometimes open to the air; explosive atmospheres may form inside and outside the tank. Facilities may not always recognize this hazard. In addition, even tanks appearing to be empty may pose a hazard if they still contain combustible vapors.

In the cited cases, the potential for combustible vapors was not clearly recognized and materials were stored in tanks that were not equipped with flame arresters to prevent external fire from reaching the vapor space inside the tank or with vapor control devices to limit vapor emissions from the tank.

Ignition sources

When combustible vapors escape from their containment and mix with air in the presence of an ignition source, combustion may occur. To minimize this hazard, all possible ignition sources must be isolated from potential combustible vapors, e.g., welding equipment or other maintenance equipment that can spark or arc, sources of static electricity, lightning, "hot work" in adjacent areas, and any electrical equipment

in the vicinity of tanks that does not conform to National Fire Protection Association (NFPA)-70, “National Electric Code.”

Proximity to Workers and environment

The danger posed by these tanks is often increased when the location of the tank does not conform with current minimum spacing requirements. Sections 2-3.2 to 2-3.3 of NFPA-30 discuss minimum spacing. For mitigating consequences to workers, the environment, and other tanks, proper secondary containment (diking) should be considered for containment.

HAZARD IDENTIFICATION

Facilities should evaluate their storage tanks for potential to catastrophically fail and identify factors that could cause storage tank explosion. Some of the factors to look for include, but are not limited to, the following:

Atmospheric storage tanks that do not meet API-650 or other applicable code(s) and contain flammable liquids or liquids that may produce combustible vapor.

Tanks with corrosion around the base and/or steel tanks whose base is in direct contact with ground and exposed to moisture.

Tanks or associated structures (e.g., pipes)

with weakened or defective welds.

Tanks used to store mixtures containing water and flammables where the water phase is at the tank bottom and may con­ tribute to internal bottom corrosion.

Tanks containing combustible vapor and not equipped with flame arrestors or vapor control devices to limit emissions.

Possible ignition sources near tanks containing combustible vapor.

PROCESS SAFETY AREAS FOR HAZARD REDUCTION

Storage tanks should comply with all regulations, industry codes and standards, including inspection and maintenance

requirements to keep tanks in proper condition. Facilities with storage tanks that can contain flammable vapors should review their equipment and operations. Areas to review should include, but not be limited to, the following:

1) Design of atmospheric storage tanks

API and other organizations have standards and codes that address recommended practices for tank design and construction. It is imperative to evaluate whether the liquids or certain components of liquid mixtures may generate combustible vapors. Design measures include fire protection, flame arrestors, emergency venting (such as part of the API-650), prevention of flash back (for tanks containing flammable liquids), and proper berming or diking.

2) Inspection and maintenance of storage tanks

API-653 has tank inspection guidelines and procedures for periodic inspections and testing, especially for older tanks. These procedures call for written documentation of inspections byAPI Certified Tank Inspectors. Measures to review include procedures for pressure testing, welding inspections, and checks for corrosion or metal fatigue. API-650 specifies welding procedures and welding qualifications as well as joint inspection (e.g., radiograph and magnetic particle examination). Programs for tank inspection and maintenance should be developed in accordance with these standards.

3) Hot-work safety

Both the Occupational Safety and Health

Administration’s (OSHA) regulations concerning hot work and NFPA’s standards on welding should be reviewed for compliance. Hazard reduction measures include proper hot-work procedures such as obtaining a hot work permit, having a fire watch and fire extinguishing equipment present, and proper testing of atmosphere for explosivity; covering and sealing all drains, vents, manways, and open flanges; sealing all sewers (to prevent gas or vapor migration); and training workers and providing them with appropriate protective equipment.

4) Ignition source reduction

Both OSHA regulations and NFPA standards should be reviewed for compliance. Hazard reduction measures may include: having all electrical equipment in a hazardous environment conform with the requirements of the National Electric Code (NF PA-70), grounding tanks to dissipate static charge, using only “non-spark producing” tools and equipment in flammable atmospheres, and taking care to not create sufficient heat or sparks to cause ignition of flammable vapors.

INFORMATION RESOURCES FOR HAZARD REDUCTION

The above information is for general guidance only. References with information about the hazards of catastrophic failures and methods of minimizing them are listed below. Regulations potentially applicable to storage tanks and codes and standards that may be relevant are included.

For more information consult the following:

Statutes and Regulations

Section 112(r) of the Clean Air Act focuses on prevention of chemical accidents. It imposes on facilities with regulated substances or other extremely hazardous substances a general duty to prevent and mitigate accidental releases. Accident prevention activities include identifying hazards and operating a safe facility.

EPA's Risk Management Program (RMP) Rule [40CFR 68] is intended to prevent and mitigate accidental releases of listed toxic and flammable substances. Requirements under the RMP rule include development of a hazard assessment, a prevention program, and an emergency response program.

EPA has tank inspection regulations under the Spill Prevention Countermeasure and Control Plan and Oil Pollution Control Act of 1990 [40 CFR119].

The Occupational Safety and Health Administration (OSHA) has the Process Safety Management Standard [29 CFR 1910.119], which includes regulations on tank inspection, fire prevention, and conduct during hot-work; regulations concerning the storage of flammable and combustible liquids [29 CFR 1910.106]; regulations concerning fire protection and prevention during welding, brazing, and cutting [29 CFR 1910.252] and regulations covering the duties and responsibilities of a fire watch [29 CFR Part 126].

Occupational Safety and Health Administration

Phone: (202) 219-8151 - Public Information

Web site: http://www.osha.gov

Codes and Standards โหลด API Standard ที่นี่ http://www.4shared.com/dir/28774086/f0410d49/API_-_American_Petroleum_Insti.html

The American Petroleum Institute (API) has tank standards and guidelines on safe welding.

American Petroleum Institute

1220 L St NW Washington DC 20005

Phone: (202) 682-8000

Web site: http://www.api.org

Relevant API standards include:

API Standard 620 — Design and Construction of Large, Welded, Low-Pressure Storage Tanks, ninth edition, February 1996 (includes Addendum 1, December 1996).

[API Standard 650 comes from] Welded Steel Tanks for Oil Storage , ninth edition, May 1993 (includes Addendum 1, December 1994; Addendum 2, December 1995; and Addendum

3, December 1996).

API Recommended Practice (RP) 651 — Cathodic Protection of Aboveground Petroleum Storage Tanks, first edition, April 1991.

API RP 652 — Lining of Aboveground Petroleum Storage Tank Bottoms, first edition, April 1991.

API Standard 653 — Tank Inspection, Repair, Alteration, and Reconstruction, second edition, December 1995 (includes Addendum 1, December 1996).

API Standard 2000 — Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks: Nonrefrigerated and Refrigerated, fourth edition, September

1992.

API RP 2003 — Protection Against Ignitions Arising Out of Static, Lightning, and Stray Current, fifth edition, December 1991.

API PUBL 2210 — Flame Arrestors for Vents of Tanks Storing Petroleum Products, second edition, 1982.

API RP 2350 — Overfill Protection for Petroleum

Storage Tanks, first edition, March 1987.

The American National Standards Institute (ANSI) has the B-31.3 Refinery Piping Code and other standards and codes.

American National Standards Institute

655 15th St NW Washington DC 20005

Phone: (202) 639-4090 or

11 West 42nd St

New York, NY 10036

Phone: (212) 642-4900

Web site: http://www.ansi.org

The American Society of Mechanical Engineers (ASME) has the Pressure Vessel Code and other codes relevant to tanks and storage vessels.

American Society of Mechanical Engineers

1828 L St NW, Suite 906

Washington DC 20036

Phone: 1 (800) 843-2863 or (202) 785-3756

Publications and membership 1 (800) 843-2763

Codes and standards (212) 705-8500

Accreditation and certification programs (212)705-8581

Web site: http://www.asme.org

The American Society of Nondestructive Testing (ASNT) certifies welding and non-destructive examination (NDE) and non-destructive testing (NDT) inspectors.

American Society of Nondestructive Testing

P.O. Box 28518

1711 Arlingate Lane

Columbus, OH 43228

Phone: 1 (800) 222-2768 or (614) 274-6003

Web site: http://www.asnt.org

The American Welding Society (AWS) certifies welding inspectors with the designation AWS QC-1 (Quality Control) Welding Inspector and has guidelines on safe welding.

American Welding Society

550 NW LeJeune Rd

Miami, FL 33126

Phone: 1 (800) 443-9353 or (305) 443-9353

Web site: http://www.amweld.org

The National Fire Protection Association (NFPA) has lightning and flammable/combustible liquid codes.

National Fire Protection Association

1 Batterymarch Park

P.O. Box 9101

Quincy, MA 02269-9101

Phone: (617) 770-3000

Customer Service: 1 (800) 344-3555

Web site: http://www.nfpa.org

Relevant NFPA codes include:

NFPA 30 — Flammable and Combustible Liquid

Code, 1996 edition.

NFPA 51 — Design and Installation of Oxygen- Fuel Gas Systems for Welding, Cutting, and Allied Processes, 1992.

NFPA 51B — Fire Prevention in Use of Cutting

and Welding Processes, 1994.

NFPA 70 — National Electric Code, 1996. NFPA 77 — Static Electricity, 1993.

NFPA 780 — Lightning Protection Code, 1995.

Underwriters Laboratories Inc. (UL) has standards for product safety.

Underwriters Laboratories Inc.

333 Pfingsten Rd

Northbrook, IL 60062

Phone: (847) 272-8800

Web site: http://www.ul.com

Relevant UL standards include:

UL-142 — Standard for Steel Aboveground

Tanks for Flammable and Combustible Liquids,

1993.