วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แก๊สรั่ว สัญญาณเตือนภัย มาบตาพุด





ก้อเป็น พท. อุตสาหกรรม ไปซะแล้ว การรั่วไหล ของ แก๊ส ในระบบ Maintenance ของโรงงาน ซึ่งมีความเป็นไปได้ เป็นปกติ แต่อยู่ในเกณฑ์ ที่มีความพร้อมที่จะรับมือ เพราะมีระบบตรวจสอบแก๊สรั่ว อยู่ใน แต่ละส่วนของโรงงานอยู่แล้ว นั่นหมายถึงโรงงานที่สร้างเสร็จไปแล้ว แต่สำหรับโครงการที่กำลัง TEST RUN ล่ะ มีความพร้อมระดับหนึ่ง แต่ไม่ทุกส่วน และการรั่วไหล ระหว่างการติดตั้ง และทดสอบ ก้อเป็นเรื่องปกติอีกนั่นแหละ แต่ถ้ามันรั่วออกมากๆล่ะ ก้อแบบที่เป็นข่าว 6-10 ครั้งในปี 2551-2552 (เคยมีรถน้ำมันตกถนนระเบิด เมื่อหลายปีที่ผ่านมา 2 ครั้ง ถ้าเป้นรถแก๊ส ล่ะ)
ตามไปดูข่าว แก๊สรั่ว สัญญาณเตือนภัย มาบตาพุด
ข่าวจากเนชั่น 19 ต.ค.52

การพิจารณาติด Gas detectors(เครื่องตรวจแก๊สรั่ว)

เกี่ยวกับความปลอดภัยในการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุ อันตราย อยากสอบถามเกี่ยวยกับการพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับก๊าซรั่ว (Gas Detector) ค่ะ
1. การพิจารณากรณีที่ก๊าซมีคุณสมบัติเป็นทั้ง ก๊าซพิษ และก๊าซไวไฟ การติด Detector ต้องพิจารณาท่คุณสมบัติข้อไหนก่อน (สำหรับสถานที่เก็บก๊าซ ซึ่งปกติคนเข้าไปทำงานน้อย แต่ก็มีเข้าไปทำงานกรณีขนย้ายเปลี่ยนถังก๊าซ เพราะถ้าอ่านกฎหมายเกี่ยวกับคู่มือการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายของกรม โรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550


เครื่องตรวจสอบแก๊สรั่ว

สิริพรรณ นิลไพรัช;

เครื่องตรวจสอบแก๊ส ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในด้านความปลอดภัย ด้านสุขภาพ หรือกระบวนการผลิตในโรงงาน เนื่องจากปัญหาของมลพิษ ที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแก๊สต่างๆ และอุบัติเหตุการระเบิดของแก๊ส ที่มักได้ยินกันอยู่เสมอ

เครื่องตรวจสอบแก๊สรั่ว เป็นตัวตรวจสอบแก๊สประเภทหนึ่ง ซึ่งออกแบบให้ตรวจสอบความเข้มข้นของแก๊ส โดยกระบวนการตอบสนองต่อแก๊ส โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางไฟฟ้า อาทิ ค่าการนำไฟฟ้า ค่าความต้านทานของเครื่องตรวจสอบแก๊สเมื่ออยู่ในบรรยากาศของแก๊สนั้น โดยถ้าความเข้มข้นของแก๊สติดไฟหรือแก๊สพิษ อยู่ในระดับเริ่มเป็นอันตราย เครื่องจะส่งสัญญาณเตือนในลักษณะต่างๆ อาทิ สัญญาณแสง สัญญาณเสียง เมื่อมีความเข้มข้นของแก๊สติดไฟหรือแก๊สพิษ ในระดับเริ่มเป็นอันตราย เพื่อเตือนให้มีการจัดการในด้านความปลอดภัยหรืออื่นๆ สำหรับระดับความปลอดภัยของแก๊สติดไฟ จะระบุในหน่วยของ LEL (lower explosive limit) หรือ UEL (upper explosive limit) ซึ่งหมายถึงระดับพิกัดล่างหรือพิกัดบน ของความเข้มข้นของแก๊ส ที่สามารถติดไฟได้เมื่อมีประกายไฟ หรือสะเก็ดไฟก็ตาม แก๊สแต่ละชนิดจะมีค่า LEL ต่างกัน อาทิ โปรเปน (propane) มีค่า 2.1% เบนซีน (benzene) มีค่า 1.4% สำหรับแก๊สพิษ จะระบุความปลอดภัยในหน่วย TLV (threshole limit value) ซึ่งเป็นความเข้มข้นมากที่สุดของแก๊สพิษ ที่บุคลากรที่อยู่ในบรรยากาศดังกล่าว สามารถปฏิบัติงานต่อเนื่องได้อย่างปลอดภัย ภายในเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน แก๊สแต่ละชนิดก็มี TLV ต่างกัน อาทิ คาร์บอนมอนอกไซด์ มีค่า 50 ส่วนในล้านส่วน (ppm)

สำหรับประเภทของเครื่องตรวจสอบแก๊สจะขึ้นกับสมบัติในการจำแนก แต่สามารถแบ่งได้อย่างกว้างๆ คือ

1. ชนิดเซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor type) เป็นการตรวจสอบ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีฟิสิกส์ ของสารกึ่งตัวนำ เมื่อได้รับความร้อน และอยู่ในบรรยากาศของแก๊ส ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน ตามความดันย่อยหรือความเข้มข้นของแก๊ส

2. ชนิดคอนแทคต์ คอมบัสชั่น (contact combustion type) เป็นการตรวจสอบ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของขดลวด อาทิ ทองคำขาว ที่มีสารตัวเร่งปฏิกิริยาเคลือบอยู่ เมื่อสารตัวเร่งปฏิกิริยาทำปฏิกิริยากับแก๊ส ความร้อนของขดลวดจะสูงขึ้น ทำให้ความต้านทานเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของแก๊ส

เครื่องตรวจสอบแก๊สรั่ว ซึ่งจำแนกตามประเภทข้างต้น จะมีความเหมาะสมในการตรวจสอบแก๊สต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเครื่องตรวจสอบแก๊ส โดยเฉพาะเครื่องตรวจสอบแก๊สรั่ว ท่านผู้ฟังควรจะต้องสอบถามข้อมูลจากผู้ขายให้ละเอียด ทั้งคุณลักษณะ การดูแลรักษาเครื่อง เพื่อให้ได้เครื่องที่สามารถตรวจสอบแก๊ส ตามที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ อันจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของท่าน


เอกสารอ้างอิง

  • สิริพรรณ นิลไพรัช, สรินทร ลิ่มปนาท, ปริญญา พวงนาค และมงคล อุมา, 2541, โครงการศึกษาเบื้องต้นของ ceramic sensor สำหรับเป็นตัวตรวจสอบการรั่วของแก๊ส, กรุงเทพ, สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

การกู้ภัยในกรณีที่รถน้ำมัน รถแก๊ส รถสารเคมีเกิดอุบัติเหตุ HAZMATPetroleum and LPG Tank Truck Accident
ในกรณีที่มีรถบรรทุกคว่ำ ให้ระลึกเสมอว่า รถคันที่มีปัญหานั้น เราไม่รู้ว่ามีอะไรบรรทุก มากับรถบ้าง ฉะนั้นจึงไม่ทราบว่ามันจะอันตราย กับเราอย่างไรเช่น ไฟไหม้ เป็นสารพิษรั่วไหล ปนเปื้อน หรือแม้กระทั่งการระเบิด จึงให้เราต้องทำการวิเคราะห์ หาข้อมูลคือ :

- หาข้อมูล ว่าเป็นน้ำมัน แก๊ส ชนิด ประเภทใด
- ความปลอดภัย ของเจ้าหน้าที่กู้ภัยและประชาชน
- แบ่งเขตทำงาน เขตปลอดภัย เขตอพยพ เขตอันตราย
- จัดทีมเข้ากู้ภัย
- จัดทีมสนับสนุน
- การอพยพหนีภัย
- การเก็บสารวัตถุมีพิษที่หกรั่วไหล
- ล้างเช็ดชำระร่างกาย และเสื้อผ้า ให้กับผู้รับสารพิษ
- ตามช่วยเหลือและสนับสนุน หาข้อมูลของเทคนิคเพิ่มเติม

การเข้ากู้ภัยกับรถบรรทุกน้ำมัน แก๊ส ที่เกิดอุบัติเหตุ
- เข้าสถานที่เกิดเหตุจากด้านเหนือลม
- ไม่อยู่ในบริเวณที่มีสาร-วัตถุหกรั่วไหลหมอก ควัน ไอพิษ
- หาชนิด ประเภทของวัสดุที่เกิดอุบัติเหตุโดย ตัวเลข 4 หลัก ป้ายสัญลักษณ์ หรือ กลุ่มอักษรต่าง ๆ
เพื่อหาข้อมูล ในเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางปฎิบัติต่อไป
- ปิดกั้นพื้นที่ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้เด็ดขาด
- ติดต่อขอความช่วยเหลือสนับสนุนเพิ่มเติม
- พิจารณาแก้ไขสถานการณ์ ตามความเหมาะสม และสภาพการณ์ที่เอื้ออำนวย

วิธีการควบคุมในกรณีที่เกิดแก๊สรั่ว
1. แก๊สที่รั่วเป็นชนิดใด ?
2. รั่วออกไปเป็นปริมาณเท่าใด ?
3. มีวาล์วปิดหรือไม่
4. ทิศทางและความเร็วของลมเป็นอย่างไร ?
5. สภาพพื้นที่โดยรอบ ๆ เป็นอย่างไร ?
6. มีสิ่งก่อสร้าง บ้านเรือนอยู่ใกล้หรือรอบ ๆ บริเวณนั้นหรือไม่ ?
7. มีแหล่งซึ่งเป็นที่มาของประกายไฟ เปลวไฟ หรือความร้อนอยู่ใกล้ ๆ บริเวณหรือไม่ ?
8. จะต้องทำอะไรก่อน ?

ผู้ที่ถึงจุดเกิดเหตุคนแรกหรือหน่วยแรก จะต้องประเมินสถานการณ์
- สภาพสิ่งแวดล้อมทิศทางลม แม่น้ำลำคลอง
- ทิศทางและความคล่องตัวของการจราจร
- อัตราการเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้
- อุปกรณ์ที่จะต้องใช้นอกเหนือจากที่นำไป
- จำนวนผู้ช่วยเหลือที่อาจจะต้องใช้
- การสนับสนุน


ขั้นตอนสำคัญในการที่จะทำการดับไฟที่เกิดจากรถบรรทุกแก๊ส
- อย่าพยายามทำการดับไฟ หากไม่สามารถดับไฟได้โดยวิธีการปิดวาล์ว
- ให้ทำการฉีดน้ำลดความร้อนให้กับถังที่อยู่ในเปลวไฟ
- ให้คนขับรถดับเครื่องและปิดที่มาของเชื้อเพลิง
- ถ้าหากว่าวาล์วปิดอยู่ในเปลวไฟ ให้ใช้หัวฉีดน้ำฉีดแบบเป็นฝอยเป็นม่านกั้นความร้อนให้กับ พนักงานดับเพลิง ที่จะเข้าไปทำการปิดวาล์ว
- ถ้าหากว่าไม่สามารถทำการปิดวาล์วได้ให้ทำการฉีดน้ำเพื่อลดความร้อนให้กับถังต่อไป
- ใช้เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งฉีดไปยังแหล่งอันเป็นที่มาของแก๊สรั่วเพื่อให้ไฟดับ (ใช้สำหรับในกรณีที่เป็นไฟเล็ก)
- ต้องสังเกตเสียงที่เกิดจากแก๊สรั่ว ถ้าหากว่ามีเสียงดังเพิ่มขึ้นแสดงว่ามีแก๊สรั่วมากขึ้น
- ให้พยายามสังเกตรูปลักษณะของถังว่ามีการบิดหรือบวมหรือไม่
- ในกรณีที่ถังเกิดระเบิดแล้วถังจะมีรอยฉีกเป็นรูกว้าง ห้ามไม่ให้ฉีดน้ำเข้าไปในรอยรั่ว
- ห้ามย้ายถังที่อยู่ในบริเวณไฟ เพราะอาจจะทำให้แกนวาวล์แตก

การยกรถบรรทุกน้ำมันและก๊าซ
- สภาพของรถที่จะทำการยก รวมถึงสภาพรถที่จะยกด้วยครับ
- พยายามดูด - ถ่ายน้ำมันออกให้มากที่สุด
- สภาพของสายสลิง
- ตำแหน่งของรถยก และรถที่เกิดอุบัติเหตุ
- ห้ามบุคคลอยู่ใต้รถหรือใกล้เคียง
- กรณีเป็นถังไวไฟ สลิงจะต้องมีการฉีดน้ำหล่อลื่นในขณะที่ทำการยกรถ

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกู้ภัย เทศบาล อบต.
ให้ลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน ห้ามรถบรรทุกสารพิษ สารเคมีที่เป็นต้นเหตุ ทำความเสียหาย ออกจากการดูแลของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จนกว่าจะมีการชดใช้ค่าเสียหาย ค่าน้ำยาโฟมดับเพลิง ค่ารถยก ค่าปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อม ที่อาจจะเกิด ขึ้นในอนาคต ผู้รับผิดชอบคือ คนขับรถ เจ้าของรถ บริษัทหรือคลังที่รับผิดชอบในการจ่ายสินค้ากับรถ(เรือ)นั้นๆ ตกลงกันเสียก่อนว่า ใครทำ ใครช่วย ใครจะจ่าย เห็นทะเลาะกันหลายรายแล้วเมื่องานเสร็จ ตอนแรกฉุก ละหุก อะไรก็ได้ พองานเสร็จ คนทำซวย ต้องหาโฟมมาใช้หลวงแทบตาย

เขียน โดย ชาติชาย ไทยกล้า จากเวบ http://www.thaifire.com/

Download เรื่องราวเกี่ยวกับ แก๊ส / chemical / safety / Pollution


0 ความคิดเห็น: