วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินกับสารเคมี

จาก http://www.moodythai.com/new/article/iso14001/chem-respond.htm

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายอาจมีผลกระทบ
ต่อผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม ประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง และการสูญเสียทรัพย์สิน เช่น
การเกิดเพลิงไหม้สารเคมี สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นพิษก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยในบริเวณ
ใกล้เคียง ในขณะเดียวกันน้ำที่ใช้ดับเพลิงแล้ว อาจไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดปัญหามลภาวะ
ต่อแหล่งน้ำได้อีกด้วย แต่ถ้าหากมีการป้องกัน ตรวจสอบ และมีการเตรียมการที่ดีในการ
รับสถานการณ์เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน จะสามารถระงับหรือลดขนาดของการสูญเสียชีวิตและ
ทรัพย์สินได้ วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินก็เพื่อที่จะควบคุมหรือกำจัด
เหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และกำหนดขั้นตอนในการระงับอุบัติภัย รวมถึงการลดผลกระทบอันเนื่องมาจาก
เหตุฉุกเฉินที่มีต่อสุขภาพ ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชนและขบวนการผลิต ในการ
จัดทำแผนฉุกเฉินจะยึดตามภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่ การเกิดอัคคีภัยและการหกรั่วไหลของสารเคมี

แผนปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้
จากข้อมูลของการสำรวจเบื้องต้นทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับแต่ละสถานที่ เพราะในรายละเอียดสถานที่แต่ละอาจมีวิธีปฏิบัติไม่เหมือนกันทุกแห่ง
แต่แนวปฏิบัติโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน เช่น


1. เมื่อมีผู้พบเห็นเหตุการณ์ ต้องดำเนินการดังนี้
- ผู้พบเห็นใช้สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือวิธีการใดที่รวดเร็วชัดเจน เพื่อให้
ผู้อยู่ในอาคารทราบและแจ้งพนักงานดับเพลิง
- พยายามใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหรืออุปกรณ์อื่นเท่าที่มี เพื่อดับเพลิงทันที

2. บุคคลในสถานที่เกิดเหตุ
- พนักงานผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดับเพลิง ต้องรีบออกจากสถานที่ทำงานของตนโดยเร็ว ตามแผนผังการหนีไฟของโรงงานและไปรวมกัน ณ จุดรวมพล เพื่อตรวจนับจำนวนพนักงาน
- ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการตรวจนับจำนวนพนักงาน เพื่อตรวจสอบว่ายังมีพนักงานติดอยู่ภายในหรือไม่เพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่
หน่วยดับเพลิงจากภายนอกที่มาทำการช่วยเหลือในการดับเพลิง เช่น ชี้นำไปยังสถานที่เกิดเหตุ หรือนำไปยังสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงของโรงงาน
- ให้พนักงานที่ได้รับมอบหมายในการปฐมพยาบาลคอยช่วยเหลือในการ
ปฐมพยาบาลหรือส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย คอยดูแลไม่ให้บุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุเพลิงไหม้เข้ามาภายในบริเวณเพลิงไหม้
ภายหลังเกิดเหตุให้หัวหน้าหน่วยงานของแผนกที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ทำการสำรวจ
ความเสียหายและรายงานต่อผู้บริหาร

3. การอพยพ
กรณีที่เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น เพลิงไหม้โกดัง ถังเก็บเคมีภัณฑ์ระเบิด หรือมี
ไอเคมีไวไฟจำนวนมาก หัวหน้าควรออกคำสั่งให้พนักงานทุกคนออกจากพื้นที่บริเวณโรงงาน
อย่างระมัดระวัง โดยปฏิบัติตามแผนอพยพ
ในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือผู้ประสานงานเหตุฉุกเฉินจะรวบรวมและประเมินข้อมูลข่าวสาร จัดเตรียมเอกสารแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ ขอความเห็นชอบในเรื่องของข่าว และออกแถลงการณ์แจ้งให้พนักงาน สาธารณชน และสื่อมวลชนทราบ
ส่วนผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเพราะกลุ่มสารเคมี
แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเฉพาะกลุ่มของสารเคมีต่อไปนี้ เป็นการจำแนกสารเคมีที่มี
คุณสมบัติคล้ายคลึงกันไว้ในหมวดเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการควบคุม การจัดเก็บ การระงับ
อุบัติภัย กรณีเกิดอัคคีภัยหรือการหก รั่วไหลของสารอันตราย รวมถึงการปฐมพยาบาลพนักงานจากการได้รับสารดังกล่าว ซึ่งโดยทั่วไปตามหลักการเก็บกักสารเคมีที่ดีนั้น ควรจะต้องมีการแยกเก็บสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ในที่นี้จะได้จำแนกกลุ่มของสารเคมีออกเป็น 52 กลุ่ม เช่น ก๊าซไวไฟสูง ก๊าซพิษ ของเหลวไวไฟสูง ของแข็งไวไฟ สารที่ติดไฟได้เอง ฯลฯ
แนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้นี้ เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติสำหรับสารกลุ่มนั้นๆ สำหรับ
รายละเอียดของสารแต่ละชนิด จำเป็นที่จะต้องศึกษาจากข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี MSDS เพิ่มเติม
ในการปฏิบัติเมื่อเกิดการหกรั่วไหลของสารเคมีควรนำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาร่วมด้วย เช่น

- ชนิดหรือประเภทของสารอันตราย
- ขนาดหรือปริมาณเมื่อเกิดการรั่วไหล
- ลักษณะการรั่วไหล เป็นการรั่วไหลจากภาชนะบรรจุประเภทใด เช่น ถังเก็บขนาดใหญ่ หีบห่อ ท่อส่ง ฯลฯ
- ความเป็นพิษของสารอันตราย สถานประกอบการมีข้อมูลเกี่ยวกับสารอันตรายหรือไม่

ซึ่งการระงับเหตุฉุกเฉินโดยไม่ทราบข้อมูล อาจก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงยิ่งขึ้น
ดังนั้น ผู้ประสบเหตุกรณีหกหรือรั่วไหลของสารเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานในอาคารเก็บสารเคมี จำเป็นต้องทราบและปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่พนักงานพบสารเคมีหกหรือรั่วไหล ได้กลิ่นสารเคมี หรือพบกลุ่มไอจากสารอันตราย พนักงานดังกล่าวจะต้อง :-
- กดสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
- จะต้องแจ้งให้ศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน หรือผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉินทราบทันที
- ถ้าไม่ทราบวิธีควบคุม หรือแก้ไขเหตุฉุกเฉิน จะต้องรีบออกไปให้พ้นจากอาคารเก็บสารเคมี
- ถ้าพนักงานดังกล่าวเคยผ่านการฝึกซ้อมควบคุมเหตุฉุกเฉินมาก่อน จะต้องดำเนินการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และปฏิบัติตามแนวทางในการปฏิบัติสำหรับสารนั้นๆ


2. กำหนดเขตพื้นที่ที่ปลอดภัย กำหนดเขตอันตราย โดยแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหลทันที ส่วนระยะที่แยกกั้นนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของสารอันตราย โดยทั่วไปกำหนดให้มีการแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหล อย่างน้อย 25-52 เมตร โดยรอบ และทำการอพยพบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยซึ่งได้จัดเตรียมไว้

3. ให้ปฏิบัติต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นด้วยความระมัดระวัง ห้ามเข้าปฏิบัติการ ในกรณีที่ยังไม่ทราบข้อมูลใดๆ เป็นอันขาด ให้เข้าไปยังจุดเกิดเหตุทางเหนือลม เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสไอระเหยของสารนั้น ให้ระลึกอยู่เสมอว่าไอระเหยหรือก๊าซต่างๆ ไม่มีกลิ่น สี และหนักกว่าอากาศ อาจสะสมอยู่พื้นล่างของบริเวณนั้น


4. พิสูจน์ทราบวัตถุอันตราย โดยพิจารณาว่า สารอันตรายที่หกและรั่วไหลนั้นเป็นสารชนิดใด ซึ่งอาจดูได้จากทะเบียนการเก็บกักสารเคมีในอาคาร ตำแหน่งที่มีการหกรั่วไหล รวมถึงประเภทของภาชนะที่ใช้บรรจุสารนั้นๆ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสารนั้นให้ดูจากข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)

5. ประเมินความรุนแรงของเหตุฉุกเฉิน ผู้รับผิดชอบ เช่น ผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย คณะกรรมการ
ความปลอดภัย รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะต้องประเมินสถานการณ์ของเหตุฉุกเฉินทันทีว่ามี
ความรุนแรงเพียงใด เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเหตุฉุกเฉินได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะต้องตัดสินใจ
ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินความรุนแรงของ
เหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- สารดังกล่าวติดไฟ หรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดการติดไฟในบริเวณนั้นหรือไม่
- ปริมาณการหกรั่วไหลของสารนั้น
- อุปกรณ์ในการควบคุมการหก หรือรั่วไหล มีเพียงพอหรือไม่
- อุปกรณ์ในการผจญเพลิง
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล มีเพียงพอสำหรับทีมปฏิบัติการที่เข้าไปยังบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่
- สารที่หก หรือรั่วไหลเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจเกิดระเบิดได้หรือไม่
- มีอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล ที่จะช่วยเหลือผู้ได้รับอันตรายจากสารอันตรายหรือไม่

6. การเข้าดำเนินการระงับเหตุฉุกเฉิน ภายหลังจากที่ได้อพยพพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวรที่หก รั่วไหลแล้ว ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน อาจจำเป็นต้องเข้าไประงับเหตุฉุกเฉินที่แหล่งกำเนิด
เช่นอุดรอยรั่ว ดูดซับสารที่หก ปิดคลุมสารอันตราย ฯลฯ ประเด็นที่ต้องพิจารณาสำหรับ
ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- มีการฝึกซ้อมระงับเหตุฉุกเฉินกรณีหก หรือรั่วไหลเป็นประจำหรือไม่
- พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องหรือไม่
- จะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง เช่น ต้องยืนอยู่เหนือลม พยายามไม่อยู่ใน
ที่ที่ต่ำ เพราะสารอันตรายบางชนิดหนักกว่าอากาศและจะสะสมอยู่ในปริมาณมาก
- ควรระบายอากาศก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่หก รั่วไหล
- ปฏิบัติตามข้อมูลเคมีภัณฑ์ สำหรับสารอันตรายชนิดนั้นๆ อย่างเคร่งครัดในการควบคุมการหก รั่วไหล

7. การดำเนินการภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน
- สวบสวนถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติภัยดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันต่อไป
- สำรวจความเสียหาย ทั้งที่เกิดต่อบุคคล ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม
- ประเมินประสิทธิภาพของมาตรการป้องกัน และควบคุมเหตุฉุกเฉินที่ใช้อยู่
- ประเมินประสิทธิภาพของทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อปรับปรุงแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ


นักวิชาการ แนะภาครัฐทำแผนกระจายสารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม หวังป้องกันปัญหาสารเคมีรั่วไหล


โพสเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2553 เวลา 17:00 น.

นักวิชาการ แนะภาครัฐทำแผนกระจายสารเคมีอันตรายพร้อมออกกฎหมายรองรับให้ประชาชนมีสิทธิรับรู้สารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม หวังป้องกันปัญหาสารเคมีรั่วไหลพร้อมเตรียมรับมือแก้ปัญหาได้ทัน ในการเสวนาเรื่องปัญหาก๊าซรั่ว ขยะสารเคมี และมลพิษในนิคมอุตสาหกรรมจะแก้ปัญหาอย่างไร ที่ โครงการสมองไหลกลับ ร่วมกับศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดขึ้น ศ.ดร.เมธี เวชารัตนา คณะวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีแห่งนิวเจอซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ปัญหาการรั่วไหลของสารเคมี ก๊าซพิษ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไทยยังขาดกระบวนการติดตามตรวจสอบการจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกต้อง รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมมีการปกปิดข้อมูล เนื่องจากเกรงว่าอาจเกิดผลเสียกับภาพลักษณ์ขององค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายมากยิ่งขึ้น ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดการสารเคมีอย่างเป็นระบบ โดยจัดตั้งสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ หรือ EPA เพื่อดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมรายงานจำนวนสารเคมีที่ครอบครองและสถานที่เก็บเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมกูภัยสารเคมีทราบและเตรียมรับกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่มีข้อมูลดังกล่าว ดังนั้น ต้องมีแผนกระจายสารเคมีอันตรายในโรงงาน เพื่อให้ทราบว่าประเทศไทยมีโรงงานที่จังหวัดใดบ้าง และแต่ละโรงงานมีสารเคมีที่เป็นอันตรายอยู่ปริมาณเท่าใด ซึ่งจะทำให้ทราบจุดเสี่ยงและเตรียมพร้อมรับมือได้ทัน ด้านนายสุเมธา วิเชียรเพชร ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการฉุกเฉิน และฟื้นฟู กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัญหาก๊าซหรือสารเคมีรั่วไหลที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ทั้งนี้ เสนอให้ภาครัฐต้องมีนโยบายให้โรงงานอุตสาหกรรมแจ้งบัญชีสารเคมีที่เป็นอันตรายร้ายแรงกับเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแผนที่การกระจายสารเคมีอันตรายร้ายแรง และเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อม เช่น การจัดซื้อเครื่องมือตรวจวัดสารเคมี ยาที่ใช้รักษา นอกจากนี้ ต้องมีกฎหมายรองรับให้ประชาชนมีสิทธิที่จะรับรู้สารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อร่วมกันเฝ้าระวังมากขึ้น

แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน และตัวอย่าง

แค่ไหนเรียก --ฉุกเฉิน--

จาก http://www.training.moodyinfo.com/index.php/iso-article/350-emergency-plan.html

ภาวะฉุกเฉินคือ ภาวะที่เป็นอันตราย หรือภาวะที่จะเกิดอันตรายที่จะเกิดแฝงอยู่ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคล ทรัพย์สิน

หรือ เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ทันทีทันใดซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ตาย หรือทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสียหายได้

ที่น่าสนใจคือ บางองค์กรแม้ว่ามีการใช้สารเคมี แต่ไม่จำเป็นต้องจัดให้เป็นเหตุฉุกเฉินเสมอไป (ที่สำคัญคืออันตรายไหม และ ควบคุมได้ทันทีทันใดไหม)

แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน ที่ดีเป็นอย่างไร


แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน มีไว้เพื่อให้ฝ่ายบริหารและพนักงานทุกระดับได้ทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นแผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉินที่ดีจึงต้องกำหนด หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารจัดการ พนักงาน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานวิธปฏิบัติ อุปกรณ์ในการป้องกันและระงับเหตุ การบรรเทาทุกข์ และ การปฏิบัติพื้นฟูภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน จะละเอียดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสภาวะของความรุนแรง และ ฝูงชนที่เกี่ยวข้อง

ต้องละเอียดแค่ไหน


แผนจะมีลายละเอียดมากน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนคนมากหรือน้อย รวมถึงขอบเขตของภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อย่างเช่น สารเคมีแต่ละชนิดมีความเป็นอันตรายที่แตกต่างกัน ปริมาณการจัดเก็บที่แตกต่างทำให้ภาวการณ์เกิดอันตรายที่เรียกว่าฉุกเฉินแตกต่างกันไป

1. การรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉิน (วิธี หัวข้อ และ สิ่งที่ต้องกระทำเมื่อได้รายงาน)
2. การตอบรับ (ผู้ที่ต้องไปยังที่เกิดเหตุทันที่ ผู้รับผิดชอบในการประเมินสถานการณ์ ผู้ที่ระบุ ภาวะความรุนแรงของสถานการณ์ )
3. สิ่งที่ต้องทำทันที ( การให้สัญญาณ การเดินเครื่องสูบน้ำ การเรียกเจ้าหน้าที่ การอพยพ การสั่งเริ่มแผนรักษาผู้ประสบภัย
4. การติดต่อเจ้าหน้าที่ทางการ การก่อตั้งศูนย์ควบคุมฉุกเฉินและการใส่เครื่องหมายแสดงตัว )
5. การควบคุมจราจร
6. การควบคุมประตูเข้า
7. การอธิบายขั้นตอนวิธีปฏิบัติ การปฏิบัติของหน่วยผลิต การปฏิบัติของการดับเพลิง การควบคุมกลุ่มกาซ การตรวจนับผู้ที่ทำงาน การจัดการเรื่องการรายงานตัวของผู้มาใหม่ การควบคุมจราจร แผนรองรับในกรณีเกิดการสูญเสีย
8. การอพยพ ป้ายชี้บอกทางหนี ถุงลมที่แสดงทิศทางลม การใช้วิทยุติดต่อให้รู้ว่าหนีไปทางไหน จุดรวมพลที่สามารถตรวจนับ )
9. การเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน (เมื่อไหร่ ใครกำหนด ใครรับผิดชอบ)

แผนฉุกเฉินแต่ละชนิดเหมือนกันหรือไม่

ไม่เหมือนกันหรอก

หากเป็นเรื่องไฟไหม้ อาจมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับ การจัดระบบในการหยุดเครื่องจักรต่างๆในเวลาฉุกเฉิน การปิดกั้นอุปกรณ์ (อันนี้สำคัญเพราะหลายๆโรงงานเอาแต่จะวิ่งและรวมพลท่าเดียว !!!) เทคนิคในการดับไฟแต่ละชนิด ชนิดของน้ำยาและอุปกรณ์ เทคนิคการใช้น้ำฉีดเลี้ยงอุปกรณ์ การเคลื่อนย้ายกำลังพล อุปกรณ์ก่อนการดำเนินการฉีดโฟม การจัดระบบสำรองของน้ำดับเพลิง

(องค์กรไหน มีแผนฉุกเฉินเรื่องไฟใหม้แต่ไม่ระบุวิธีจัดการกับการหยุดเครื่อง การปิดกันอุปกรณ์ โดยลอกมาจากบริษัทที่มาอบรม ที่เน้นแต่วิ่งหนี อันนี้เป็นแผนฉุกเฉินที่ใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีประโยชน์ในการลดความสูยเสียให้กับบริษัทคุณ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรฐาน ISO14001)

หากเป็นก๊าซรั่ว อาจมีรายละเอียด สัญญาณเตือนภัย คำสั่งที่ต้องปฏิบัติทันที การหยุดงาน hotwork การอพยพคน การลดอันตรายจากกลุ่มก๊าซ การแจ้งผู้ที่อยู่ใต้ลม การประเมินอันตรายที่อาจลุกลาม การปิดถนน การใช้น้ำฉีดไล่กลุ่มก๊าซ การใช้เครื่องช่วยหายใจและเครื่องป้องกันอันตราย

ยังมีเหตุการณ์อื่นๆอีกเช่น น้ำท่วม การรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี ... .ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะ แผนฉุกเฉินแต่ละองค์กรไม่เหมือนกันหรอก ดังนั้นต้องมีความเข้าใจพื้นฐานก่อนเขียนแผน .

ขั้นตอนการเตือนภัยครั้งแรก

ควรจะทำอะไรบ้างเมื่อได้พบเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม(หรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้) จะติดต่อกับใคร หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินอะไร รายงานเหตุการณ์ต่อใคร แก้ไขปัญหาขั้นต้นอย่างไร


กำหนดสายการบังคับบัญชา

อธิบายโครงสร้างองค์กรของทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินว่าใครเป็นคนสั่งการ สายการรายงานเป็นอย่างไร แต่ละคนต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง

อธิบายการแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินระดับต่างๆ
กำหนดหัวข้อแผนปฏิบัติการสำหรับเหตุการณ์ไฟไหม้ สารเคมีรั่วไหล ก๊าซรั่ว หรืออื่นๆในระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 และรวมถึงการกำหนดคำสั่งการ การดูแลความปลอดภัยของพื้นที่เกิดเหตุ การแจ้งขอความช่วยเหลือจากภายนอก การสื่อสารทั้งภายในและภายนอก แผนการอพยพ (ทั้งในโรงงานและพื้นที่ใกล้เคียง) จุดรวมพล วิธีการลดและขจัดผลกระทบ

การรายงาน
กำหนดว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินภายในโรงงานและองค์กร และรายงานต่อหน่วยงานนอกองค์กร อาทิ ชุมชน หน่วยงานรัฐ และสื่อสารมวลชน


การค้นหาอุบัติการณ์
อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินหลังเสร็จสิ้นเหตุการณ์นั้นแล้ว เพื่อสืบค้นหาสาเหตุและวิธีการป้องกันและแก้ไขมิให้อุบัติการณ์นั้นเกิดขึ้นอีก


การฝึกซ้อมการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉิน
ISO 14001 กำหนดให้มีการซ้อมแผนฉุกเฉินหากทำได้ในทางปฏิบัติ กำหนดการซ้อมแผนฉุกเฉินควรครอบคลุมเหตุฉุกเฉินชนิดต่างๆและทุกพื้นที่ ควรมีการประเมินประสิทธิผลของการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและปรับปรุงให้ดีขึ้นหากจำเป็น หรือทำการซ้อมเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลตามที่กำหนดไว้
แผนการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินฉบับสำเนาต้องแจกจ่ายให้ทั่วทั้งองค์กรและทุกคนต้องรับรู้ถึงขั้นตอนการเตือนภัยครั้งแรกและการอพยพ สมาชิกของทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องเป็นผู้นำในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและทุกๆคนในพื้นที่ควรได้รับการฝึกซ้อมการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินและการอพยพ ควรจัดเก็บบันทึกผลการฝึกซ้อมและบันทึกการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการแก้ไขปัญหากรณีเหตุฉุกเฉิน
สิ่งที่นอกเหนือไปจากเอกสารอื่นๆคือแผนการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นต้องทำให้ทันสมัยอยู่เสมอ ประกอบด้วย รายชื่อบุคคลและหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ในปัจจุบัน และการอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานเฉพาะที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น

Download : ตัวอย่างแผนฉุกเฉินนี้ (เป็นแผนฉุกเฉินที่จัดทําที่เหมาะกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหนักๆ ครับ ต้องปรับให้เหมาะนะครับ)


การวางแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน

การวางแผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน
เหตุฉุกเฉิน หมายถึง เหตุการณที่ไมตองการใหเกิดขึ้น ซึ่งอาจทําใหเกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิตและเกิดความเสียหายตอทรัพยสิน
หรืออาจทําใหเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมภายนอกสถานประกอบการ โดย ที่สถานการณนั้นเกินกําลังความสามารถของ
เจาหนาที่หรือพนักงานคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถควบคุม สถานการณไดในทันทีทันใด ตัวอยางเชน การเกิดเพลิงไหมที่มี
เชื้อเพลิงปริมาณมาก การระเบิดที่เกี่ยวของกับสารเคมีปริมาณมาก หรือสารเคมีรั้วไหลในปริมาณมาก เปนตน
ประเภทของเหตุฉุกเฉิน พบบอยในโรงงานหรือสถานประกอบการ ไดแก การเกิดเหตุเพลิงไหม การระเบิด และสารเคมี
รั่วไหล
การเกิดเพลิงไหม
- การเกิดเพลิงไหมโดยปราศจากการระเบิด
- การเกิดเพลิงไหมและมี เหตุการณอื่นรวมดวย เชน การระเบิด และสารพิษ
- การเกิดเพลิงไหมภายหลังการระเบิด
การระเบิด
- การระเบิดที่เกิดจากวัตถุระเบิด
- การระเบิดจากการทําปฏิกิริยาของไอเชื้อเพลิงกับอากาศ
- การระเบิดจากผง ฝุน เชน ถานหิน แปงมัน ขาวโพด น้ําตาล จะรุนแรงกวา การทําปฏิกิริยาจากไอ ยิ่งผงฝุนมีขนาด
เล็ก ก็ จะระเบิดไดรวดเร็ว และ รุนแรง
- การระเบิดจากการขยายตัวของสารและกาซภายใตความอัดดัน
- การระเบิดจากปฏิกิริยาฟชชัน หรือฟวชัน เชน การระเบิดของไฮโดรเจน การระเบิดของนิวตรอน
สารเคมีหกรั่วไหล
- ของเหลวที่ใหไอเปนพิษ เชน เบนซิน คารบอนไดซัลไฟด คลอลีน กรดกํามะถัน
- กาซพิษ เชน ฟอสจีน ไฮโดรเจนซัลไฟด ไฮโดรเจนไซยาไนด แอมโมเนีย
กฎหมายที่เกี่ยวของกับการปองกันและ ระงับเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย
1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การปองกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ
2. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2536 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
3. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542 เรื่องมาตรการคุมครองความปลอดภัยในการดําเนินงาน
หนวยงานที่เกี่ยวของในการระงับเหตุฉุกเฉิน คือ
1. นิคมอุตสาหกรรม
2. กรมควบคุมมลพิษ
แนวคิดในการวางแผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน
แบงระดับภาวะฉุกเฉินเปน 3 ระดับ
ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 1 ไดแก ภัยหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการที่มีผลกระทบตอชีวิตและทรัพยสินไมมากนัก
ความรุนแรงอยูในบริเวณที่เกิดเหตุ บุคลากรของโรงงานสามารถใชทรัพยากรของตนเองเขาควบคุมระงับเหตุได
ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 2 ภัยหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการและอาจลุกลาม เกินความสามารถของบุคลากร ตอง
ขอความชวยเหลือจาก บุคลากร หรือหนวยงานอื่น เขามาชวย2
ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 3 กรณีที่ภัยหรือเหตุฉุกเฉินไดลุกลามขยายขนาดใหญ ขอความชวยเหลือไปยังกองอํานวยการปองกัน
ภัย จังหวัดศูนยอํานวยการรวมปฏิบัติ
การวางแผนและระงับเหตุฉุกเฉินมีความสําคัญตอสถานประกอบการ 4 ประการ ดังนี้ คือ
1. สามารถชวยชีวิตผูที่ตกอยูในอันตราย
2. จํากัดความเสียหายตอทรัพยสินและสิ่งแวดลอม
3. สามารถคนหาสาเหตุของเหตุฉุกเฉินไดอยางมีประสิทธิภาพ
4. ชวยปกปองชื่อเสียงของสถานประกอบการ
ประเภทของแผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน แบงเปน 3 ประเภท คือ
1. แผนปองกันเหตุฉุกเฉิน (ระยะกอนเกิดเหตุ)
2. แผนระงับ ควบคุม ตอบโตภาวะฉุกเฉิน (ระยะเกิดเหตุ)
3. แผนฟนฟู (ระยะหลังเกิดเหตุ)
การเตรียมความพรอมและการปองกันเหตุ ฉุกเฉิน
แผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉินเปนแววทางในปฏิบัติในสถานการณฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งผูปฏิบัติการจะตองยึดเปน
เกณฑในการตัดสินใจและเปนขอมูลในการทํางาน ดังนั้นการจัดเตรียมเอกสารและขอมูลที่ใชในการวางแผนจึงมีความสําคัญ
และควรเปนขอมูลที่ถูกตองสมบูรณและสามารถนําไปใชประโยชนได
ขอมูลที่จะอยูในแผนฉุกเฉินควรประกอบไปดวยขอมูลตางๆ ดังนี้ หมายเลขโทรศัพทฉุกเฉิน ขอมูลทั่วไปของโรงงาน เกณฑ
การพิจารณา เหตุการณฉุกเฉิน บทบาทหนาที่ และความรับผิดชอบ การสื่อสาร คูมือหรือวิธีปฏิบัติการปองกันและระงับเหตุ
ฉุกเฉิน อุปกรณ เครื่องมือ และสถานที่ที่ใชในการปฏิบัติฉุกเฉิน การทดสอบตามแผนการที่วางไว การพัฒนาแผน และการ
บํารุงรักษา เอกสารแสดงความเปนอันตรายของวัตถุอันตราย แผนผังโรงงาน และแผนที่แสดงบริเวณโรงงาน การอบรม
พนักงาน และ เจาหนาที่ปฏิบัติการ และระเบียบปฏิบัติในการายงาน แบบฟอรม
การจัดเตรียมศูนยควบคุมเหตุฉุกเฉิน
ศูนยควบคุมเหตุฉุกเฉินควรมีสถานที่ตั้งอยูหางจากบริเวณที่เสี่ยงตอการเกิดเหตุฉุกเฉินโดยจัดใหมีอยางนอย 2 แหง ซึ่งอยูใน
ทิศทางลมตางกัน และควรออกแบบใหทนไฟและทนแรงระเบิดได รวมทั้งมีอุปกรณในการติดตอสื่อสารและอุปกรณ
ประกอบที่จะใชในการสั่งการตอบโตภาวะฉุกเฉินอยางครบครัน
การจัดเตรียมสัญญาณเตือนภัย
สัญญาณเตือนภัยจะตองทํางานทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและสามารถสงสัญญาณใหผูปฏิบัติงานในทุกพื้นที่สามารถไดยินและ
ปฏิบัติตามที่กําหนดไวในแผนปองกันและระงับเหตุฉุกเฉินไดถูกตองและทันการ ดังนั้นการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยควร
จะตองติดตั้งตามจุดตางๆที่มีผูปฏิบัติงานตลอดเวลา หรือเปนจุดที่มีความเสี่ยตอการเกิดเหตุฉุกเฉิน เชน
- หองควบคุม หรือ Control room ของโรงงาน
- สํานักงานรักษาความปลอดภัยหรือปอมยาม
- ศูนยควบคุมภาวะฉุกเฉิน
- อาคารสํานักงานภายในบริเวณโรงงาน
- จุดที่ใกลบริเวณถังเก็บสารเคมีอันตราย หรือเชื้อเพลิง
3
อุตสาหกรรมแตละชนิดยอมมีความซับซอนแตกตางกันทั้งการผลิต และการขนสง การจัดเก็บสารเคมีอันตรายตางๆ ดังนั้น
การสรางทีมที่จะตองปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินตามความเหมาะสมกับแตละโรงงานนั้นตองมีการคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู
และความเชี่ยวชาญสามารถปฏิบัติการไดทันทีเมื่อมี เหตุการณฉุกเฉินเกิดขึ้น
ผูมีคุณสมบัติเปนทีมปฏิบัติการปองกันและระงับเหตุฉุกเฉินจะตองมีคุณสมบัติดังนี้
- พนักงานที่โดยปกติทํางานเกี่ยวของกับสารเคมีอันตรายโดยตรงอยูแลว
- มีสุขภาพแข็งแรง
- นักเคมีหรือ วิศวกรเคมี
- ผูที่สามารถทําการปฐมพยาบาลชวยชีวิต
สถานประกอบการจะตองจัดใหมีการฝกอบรมการดับเพลิง และการฝกซอมแผนฉุกเฉิน เพื่อสื่อสาร ใหความรู และฝกปฏิบัติ
ใหเกิดทักษะในการปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน พรอมทั้งสามารถอพยพออกตามเสนทางหนีไฟไดอยางปลอดภัย
แนวทางการดําเนินงานในการฝกซอมแผนฉุกเฉิน มีดังตอไปนี้
1. จัดใหมีการฝกอบรมการดับเพลิงขั้นตนแกพนักงาน อยางนอย 40% ตามกฎหมาย
2. จัดใหมีการฝกอบรมการดับเพลิงขั้นสูงแกพนักงานที่ไดรับมอบหมายพิเศษใหทําหนาที่พนักงานดับเพลิงใหได
จํานวนตามความเหมาะสมของความเสี่ยง
3. จัดใหพนักงานทุกคนไดรับการฝกอบรมเกี่ยวกับแผนการปองกันและระงับเหตุฉุกเฉิน การใชอุปกรณตางๆ ในการ
ดับเพลิง การปฐมพยาบาลและการชวยเหลือฉุกเฉินอยางนอยปละ 1 ครั้ง
4. จัดใหมีการซอมแผนตอบโตภาวะฉุกเฉินและฝกการอพยพออกจากอาคารไปตามทางหนีไฟอยางปลอดภัย อยางนอย
ปละ 1 ครั้ง
มาตรการในการระงับและฟนฟูเหตุฉุกเฉิน
มาตรการที่ควรปฏิบัติเพื่อระงับเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน ควรคํานึงถึง
ปจจัยพื้นฐานของการเกิดเหตุการณฉุกเฉินและเทคนิคที่เปนไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร มาตรการระงับ เหตุฉุกเฉินที่
สําคัญคือ การระงับเหตุกรณีไฟไหม การระงับเหตุกรณีสารเคมีรั่วไหล และการระงับเหตุกรณีที่เกิดนอกโรงงาน
มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินกรณีไฟไหม
1 เมื่อพบวามีเพลิงไหมใหกดสัญญาณเตือนภัย เพื่อแจงเหตุทันที
2 ใหหยุดการทํางานทันที หากเปนเชื้อเพลิงไหมขนาดใหญตองโทรศัพทแจงหนวยดับเพลิง
3. ใหดําเนินการดับเพลิงใหมากที่สุดเทาที่จะมากได
4. ถามีไฟฟา หรืออุปกรณไฟฟาลุกไหม หามใชน้ําฉีด
5. แยกเชื้อเพลิงออกจากแหลงที่เกิดเพลิงไหมออกไปใหไกล หรือฉีดน้ําคลุมกันไฟ
6. ถาเปน ภาชนะบรรจุกาซ ทอบรรจุกาซ ใหใชน้ําฉีดคลุมไวเพื่อปองกันการระเบิด
มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินในกรณีสารเคมีรั่วไหล ตองประเมินสถานการณกอเขาไประงับเหตุ ใชอุปกรณคุมครองความ
ปลอดภัยสวนบุคคล เชน ชุดหนากากปองกันสารเคมี
1. เขาไปที่เกิดเหตุทางดานเหนือลม ดูใหแนชัดวาเปนสารเคมีประเภทอะไร ตัวเลข 4 ตัว บนแผนปายสีสม
2. มองหาตัวเลขสามตัว ที่ บอกหรือแนะนํา ตัวเลขดัชนี ประเภทเคมีภัณฑ ชื่อสารเคมี ชื่อทางการคา วิธีปดวาลว
ระยะหางที่ปลอดภัย
3. พิจารณาการชวยเหลือคนที่ประสบภัยถาทําได
4. พื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุตองกันไมใหคนเขาไป เพื่อปองกันการไดรับสารพิษ
มาตรการรองรับภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน
เพื่อปองกันหรือลดความรุนแรงของปญหาที่จะตามมาภายหลังการปฏิบัติภารกิจระงับเหตุฉุกเฉิน เชน มาตรการฟนฟูเหตุ
ฉุกเฉินที่สําคัญ มีดังนี้เชน การชําระลางการปนเปอนสารเคมี การกําจัดขยะอันตราย การชวยเหลือและคนหาผูประสบภัย เปน
ตน
1. การชําระลางเสื้อผาและผิวหนังผูปฏิบัติงานระงับเหตุฉุกเฉิน
2. การกําจัดขยะอันตราย
3. การลางเครื่องมืออุปกรณที่ปนเปอน
4. การชวยเหลือและคนหาผูประสบภัย
5. การใหขาวตอสื่อมวลชน

การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ

การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ

อ.สุพรรณิการ์ ธรรมนิทัศนา
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
14/12/2552

บทนำ
ในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงสภาวะการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับการบริหารจัดการองค์กรประเภทใดก็ตามให้บรรลุผลสำเร็จ จึงต้องมีการเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกขององค์กร ที่มีความหลากหลายมากขึ้นเป็นลำดับ หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าความเสี่ยงคืออะไร ทำไมต้องทำการบริหารความเสี่ยง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงให้อยู่หมัด เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ความเสี่ยง คืออะไร ?
หลายท่านคงเคยพบเจอกับสภาวะความเสี่ยงต่างๆ เช่น เหตุการณ์ความไม่แน่นอนของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจนอาจนำไปสู่การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ ความแปรปรวนของราคาหุ้นที่เราลงทุนไว้ ซึ่งอาจนำไปสู่การได้รับอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าจำนวนที่คาดหวังไว้ หรือ ความไม่แน่นอนที่จะเกิดพายุหนักจนอาจทำให้บ้านเรือน สถานที่ต่างๆ พัง เสียหาย หรืออาจทำให้ธุรกิจบางประเภทต้องหยุดชะงักไป เป็นต้น เหตุการณ์ต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความเสี่ยงประเภทต่างๆ ที่หากเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ได้มีผู้เชี่ยวชาญให้คำจำกัดความของคำว่า “ความเสี่ยง (Risk)” แตกต่างกันไปตามความเชี่ยวชาญ และ ตามมุมมองของตนไว้มากมาย แต่สาระสำคัญของความหมายที่เหมือนกันของคำว่าความเสี่ยงที่เหมือนกัน คือ เหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วอาจนำไปสู่ความสูญเสีย

แหล่งที่มาของปัจจัยเสี่ยง
ความเสี่ยง มีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงอันเกิดขึ้นจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในองค์กร
ปัจจัยเสี่ยงที่มาจากอิทธิพลภายนอก (External Risk Factors) คือ ความเสี่ยงที่องค์กรไม่สามารถควบคุมการเกิดได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ / สังคม / การเมือง / เทคโนโลยี / สิ่งแวดล้อม ภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจ ความต้องการของลูกค้า รวมถึงกฎหมายและระเบียบทางราชการ
ปัจจัยเสี่ยงที่มาจากอิทธิพลภายใน (Internal Risk Factors) คือ ความเสี่ยงที่องค์กรสามารถควบคุมได้โดยแต่ละองค์กรย่อมมีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของธุรกิจ ซึ่งอาจมีได้หลากหลายปัจจัย เช่น การบริหารจัดการองค์กร ความรู้ความสามารถของบุคลากร กระบวนการทำงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ การบริหารสภาพคล่อง การวางแผนงบประมาณ การประมาณการทางการเงิน เป็นต้น

ความเสี่ยง 8 ด้าน ที่องค์กรควรทำความรู้จัก
ความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยให้องค์กรมองภาพความเสี่ยงในแต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน จะขอความเสี่ยงออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้
1.) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินธุรกิจ และการนำแผนไปปฏิบัติไม่เหมาะสม อันส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งมีที่มาทั้งจากปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงความต้องการของกลุ่มลูกค้า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของทางราชการ และปัจจัยเสี่ยงภายใน เช่น การบริหารจัดการขององค์กร โครงสร้างขององค์กร
2.) ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่คู่สัญญาทางการเงินฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามข้อสัญญา ซึ่งส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางการเงินกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
3.) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) คือ ความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาสินทรัพย์หรือหนี้สินที่อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ อาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลอดจนความผันผวนของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค
4.) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ธุรกิจมีกระแสเงินสดรับไม่เพียงพอสำหรับกระแสเงินสดจ่าย หรือไม่สามารถที่จะแปลงสินทรัพย์ให้เป็นเงินสดได้ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องนี้มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงด้านตลาดและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเสี่ยงด้านเครดิต
5.) ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากระบบงานขององค์กร กระบวนการปฏิบัติงานภายใน เทคโนโลยี หรือ บุคลากรภายในองค์กรเอง ตัวอย่างเช่น ความผิดพลาดของกระบวนการผลิต ความผิดพลาดหรือการละเว้นของผู้ปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน หรือการขาดการควบคุมภายในที่ดี รวมทั้งการทุจริตของพนักงานด้วย
6.) ความเสี่ยงด้านวิบัติภัย (Hazard Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากภัยอันตราย หรือ การเกิดภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ สึนามิ รวมไปถึงภัยจากผู้ก่อการร้ายต่างๆ เป็นต้น
7.) ความเสี่ยงด้านกฎหมาย (Legal Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจหรือการทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่างๆ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งในรูปตัวเงิน เช่น ค่าเสียหายที่ต้องชดใช้ตามคำพิพากษา และความเสียหายที่ไม่อยู่ในรูปของตัวเงิน เช่น การสูญเสียชื่อเสียง และความเชื่อมั่นของลูกค้า
8.) ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputation Risk) คือ ความเสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียงของสถาบันหรือองค์กรนั้นๆ ซึ่งนับเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง แต่ในปัจจุบันต้องถือว่าเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาลต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากชื่อเสียงขององค์กรนั้น ได้มาจากการสั่งสมความเชื่อถือ ความไว้ใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งจากนักลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า รวมถึงพนักงานภายในองค์กรกับองค์กร

การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ
ในแง่ของการทำธุรกิจ อัตราการเจริญเติบโตและกำไร ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) อย่างไรก็ดีการเน้นความเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำกำไรโดยปราศจากการควบคุมความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงนั้น มักก่อให้เกิดผลเสียกับการดำเนินธุรกิจ โดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการทำความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเอื้ออำนวยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงในระยะยาวได้
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา “การบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management)” เป็นเทคนิคทางการบริหารที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน ทั้งที่เป็นสถาบันการเงินและที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เหตุผลส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบทเรียนจากความสูญเสียเมื่อครั้งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยปี พ.ศ. 2540 (วิกฤติต้มยำกุ้ง) รวมไปถึงการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกเมื่อประมาณปลายปี 2551 ที่ผ่านมา (วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์)



การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพย่อมช่วยลดโอกาสหรือขนาดของความสูญเสียจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และยังส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าขององค์กรอีกด้วย

กระบวนการการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Process) เป็นกระบวนการที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ให้อยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ (Establish the Context) ในขั้นแรกของการบริหารความเสี่ยงนั้น ควรจะทำการกำหนดวัตถุประสงค์การบริหารความเสี่ยงขององค์กรให้ชัดเจน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์จะช่วยให้เข้าใจถึงสภาพการดำเนิน งานขององค์กร สามารถระบุและกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งที่มาจากแหล่งปัจจัยเสี่ยงปัจจัยภายใน และภายนอกองค์กร นอกจากนั้นยังต้องมีการสื่อสารให้ทุกคนภายในองค์กรได้รับทราบ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนที่ 2 การระบุความเสี่ยง (Risk Identification) เป็นขั้นตอนของการค้นหาความเสี่ยง ว่าจะมีความเสี่ยงใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร วิธีที่นิยมใช้ในการระบุความเสี่ยง คือ การประชุมร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ ขององค์กรเพื่อทำการระบุความเสี่ยงร่วมกัน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เป็นขั้นตอนของการประเมินโอกาสในการเกิดความเสี่ยง (Likelihood) ของเหตุการณ์ความเสี่ยงนั้นๆ ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด และประเมินระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Consequence) ทั้งในเชิงคุณภาพ เช่น ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กร และในเชิงปริมาณที่สามารถวัดได้เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยบางสถานการณ์ การเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอาจส่งผลกระทบในระดับต่ำ ในขณะที่บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจมีผลกระทบในระดับสูงต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร
ขั้นตอนที่ 4 การจัดการความเสี่ยง (Treat Risks) เป็นการกำหนดแนวทางที่เหมาะสม เพื่อจะทำการจัดการกับความเสี่ยง ได้แก่
1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เป็นการตัดสินใจหลีกเลี่ยงความเสี่ยง, หยุด หรือ เปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่เป็นความเสี่ยง เช่น การหยุดหรือยกเลิกงาน/กิจกรรม ที่เห็นว่ามีความเสี่ยงสูง และไม่สามารถรับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้, การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการหรือระบบต่าง ๆ เป็นต้น
2. การลดโอกาสเกิดความเสี่ยง เป็นการลดโอกาสความน่าจะเป็นในการเกิดความเสี่ยงนั้น เช่น การจัดทำระบบคุณภาพ การตรวจสอบและการติดตามการปฏิบัติงาน ฯลฯ
3. การลดผลกระทบความเสี่ยง เป็นการหามาตรการในการลดความรุนแรงของผลกระทบจากความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เช่น การมีแผนสำรองฉุกเฉิน การแบ่งขนาดโครงการให้เล็กลง เป็นต้น
4. การถ่ายโอนความเสี่ยง เป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ไปยังผู้อื่น/หน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กรที่มีความสามารถเพียงพอในการควบคุมความเสี่ยงได้ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การทำประกันภัยทรัพย์สิน และการประกันภัยอุบัติเหตุกับบริษัทประกันภัย การจัดจ้างผู้ชำนาญงานหรือบุคคลภายนอก (Outsource) ในแต่ละด้านที่ขาดความถนัดมาช่วยงาน หรือ การจัดทำสำเนาเอกสารหลายๆ ชุด เป็นต้น
5. การยอมรับความเสี่ยง เป็นการยอมรับให้มีความเสี่ยงนั้นๆ ปรากฏอยู่ อาจเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือการสร้างระบบการควบคุม มีมูลค่าสูงกว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 5 การติดตามและสอบทาน (Monitoring and Review) เมื่อได้ทางเลือกที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยงแล้ว ควรจะต้องมีการติดตามผล เนื่องจากว่าความเสี่ยงแต่ละประเภทจะเปลี่ยนไปตามระยะเวลาและความเสี่ยงประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ยิ่งไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ หรือการเพิ่มระดับของความเสี่ยงเดิมให้มากขึ้นได้ การติดตามและประเมินผลจึงไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของการบริหารความเสี่ยง แต่เป็นขั้นตอนที่นำไปสู่การจัดการระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีความต่อเนื่องและทันต่อเหตุการณ์

สรุป
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าท่านจะใช้ชีวิตส่วนตัว เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือทำงานในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทั้งสิ้น หากเรามีการเตรียมการและสามารถรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เท่ากับเป็นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ทำให้สามารถผ่าฟันวิกฤติต่างๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์ได้เป็นอย่างดี