วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน และตัวอย่าง

แค่ไหนเรียก --ฉุกเฉิน--

จาก http://www.training.moodyinfo.com/index.php/iso-article/350-emergency-plan.html

ภาวะฉุกเฉินคือ ภาวะที่เป็นอันตราย หรือภาวะที่จะเกิดอันตรายที่จะเกิดแฝงอยู่ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคล ทรัพย์สิน

หรือ เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ทันทีทันใดซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ตาย หรือทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสียหายได้

ที่น่าสนใจคือ บางองค์กรแม้ว่ามีการใช้สารเคมี แต่ไม่จำเป็นต้องจัดให้เป็นเหตุฉุกเฉินเสมอไป (ที่สำคัญคืออันตรายไหม และ ควบคุมได้ทันทีทันใดไหม)

แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน ที่ดีเป็นอย่างไร


แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน มีไว้เพื่อให้ฝ่ายบริหารและพนักงานทุกระดับได้ทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นแผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉินที่ดีจึงต้องกำหนด หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารจัดการ พนักงาน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานวิธปฏิบัติ อุปกรณ์ในการป้องกันและระงับเหตุ การบรรเทาทุกข์ และ การปฏิบัติพื้นฟูภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน จะละเอียดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสภาวะของความรุนแรง และ ฝูงชนที่เกี่ยวข้อง

ต้องละเอียดแค่ไหน


แผนจะมีลายละเอียดมากน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนคนมากหรือน้อย รวมถึงขอบเขตของภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อย่างเช่น สารเคมีแต่ละชนิดมีความเป็นอันตรายที่แตกต่างกัน ปริมาณการจัดเก็บที่แตกต่างทำให้ภาวการณ์เกิดอันตรายที่เรียกว่าฉุกเฉินแตกต่างกันไป

1. การรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉิน (วิธี หัวข้อ และ สิ่งที่ต้องกระทำเมื่อได้รายงาน)
2. การตอบรับ (ผู้ที่ต้องไปยังที่เกิดเหตุทันที่ ผู้รับผิดชอบในการประเมินสถานการณ์ ผู้ที่ระบุ ภาวะความรุนแรงของสถานการณ์ )
3. สิ่งที่ต้องทำทันที ( การให้สัญญาณ การเดินเครื่องสูบน้ำ การเรียกเจ้าหน้าที่ การอพยพ การสั่งเริ่มแผนรักษาผู้ประสบภัย
4. การติดต่อเจ้าหน้าที่ทางการ การก่อตั้งศูนย์ควบคุมฉุกเฉินและการใส่เครื่องหมายแสดงตัว )
5. การควบคุมจราจร
6. การควบคุมประตูเข้า
7. การอธิบายขั้นตอนวิธีปฏิบัติ การปฏิบัติของหน่วยผลิต การปฏิบัติของการดับเพลิง การควบคุมกลุ่มกาซ การตรวจนับผู้ที่ทำงาน การจัดการเรื่องการรายงานตัวของผู้มาใหม่ การควบคุมจราจร แผนรองรับในกรณีเกิดการสูญเสีย
8. การอพยพ ป้ายชี้บอกทางหนี ถุงลมที่แสดงทิศทางลม การใช้วิทยุติดต่อให้รู้ว่าหนีไปทางไหน จุดรวมพลที่สามารถตรวจนับ )
9. การเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน (เมื่อไหร่ ใครกำหนด ใครรับผิดชอบ)

แผนฉุกเฉินแต่ละชนิดเหมือนกันหรือไม่

ไม่เหมือนกันหรอก

หากเป็นเรื่องไฟไหม้ อาจมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับ การจัดระบบในการหยุดเครื่องจักรต่างๆในเวลาฉุกเฉิน การปิดกั้นอุปกรณ์ (อันนี้สำคัญเพราะหลายๆโรงงานเอาแต่จะวิ่งและรวมพลท่าเดียว !!!) เทคนิคในการดับไฟแต่ละชนิด ชนิดของน้ำยาและอุปกรณ์ เทคนิคการใช้น้ำฉีดเลี้ยงอุปกรณ์ การเคลื่อนย้ายกำลังพล อุปกรณ์ก่อนการดำเนินการฉีดโฟม การจัดระบบสำรองของน้ำดับเพลิง

(องค์กรไหน มีแผนฉุกเฉินเรื่องไฟใหม้แต่ไม่ระบุวิธีจัดการกับการหยุดเครื่อง การปิดกันอุปกรณ์ โดยลอกมาจากบริษัทที่มาอบรม ที่เน้นแต่วิ่งหนี อันนี้เป็นแผนฉุกเฉินที่ใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีประโยชน์ในการลดความสูยเสียให้กับบริษัทคุณ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรฐาน ISO14001)

หากเป็นก๊าซรั่ว อาจมีรายละเอียด สัญญาณเตือนภัย คำสั่งที่ต้องปฏิบัติทันที การหยุดงาน hotwork การอพยพคน การลดอันตรายจากกลุ่มก๊าซ การแจ้งผู้ที่อยู่ใต้ลม การประเมินอันตรายที่อาจลุกลาม การปิดถนน การใช้น้ำฉีดไล่กลุ่มก๊าซ การใช้เครื่องช่วยหายใจและเครื่องป้องกันอันตราย

ยังมีเหตุการณ์อื่นๆอีกเช่น น้ำท่วม การรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี ... .ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะ แผนฉุกเฉินแต่ละองค์กรไม่เหมือนกันหรอก ดังนั้นต้องมีความเข้าใจพื้นฐานก่อนเขียนแผน .

ขั้นตอนการเตือนภัยครั้งแรก

ควรจะทำอะไรบ้างเมื่อได้พบเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม(หรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้) จะติดต่อกับใคร หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินอะไร รายงานเหตุการณ์ต่อใคร แก้ไขปัญหาขั้นต้นอย่างไร


กำหนดสายการบังคับบัญชา

อธิบายโครงสร้างองค์กรของทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินว่าใครเป็นคนสั่งการ สายการรายงานเป็นอย่างไร แต่ละคนต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง

อธิบายการแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินระดับต่างๆ
กำหนดหัวข้อแผนปฏิบัติการสำหรับเหตุการณ์ไฟไหม้ สารเคมีรั่วไหล ก๊าซรั่ว หรืออื่นๆในระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 และรวมถึงการกำหนดคำสั่งการ การดูแลความปลอดภัยของพื้นที่เกิดเหตุ การแจ้งขอความช่วยเหลือจากภายนอก การสื่อสารทั้งภายในและภายนอก แผนการอพยพ (ทั้งในโรงงานและพื้นที่ใกล้เคียง) จุดรวมพล วิธีการลดและขจัดผลกระทบ

การรายงาน
กำหนดว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินภายในโรงงานและองค์กร และรายงานต่อหน่วยงานนอกองค์กร อาทิ ชุมชน หน่วยงานรัฐ และสื่อสารมวลชน


การค้นหาอุบัติการณ์
อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินหลังเสร็จสิ้นเหตุการณ์นั้นแล้ว เพื่อสืบค้นหาสาเหตุและวิธีการป้องกันและแก้ไขมิให้อุบัติการณ์นั้นเกิดขึ้นอีก


การฝึกซ้อมการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉิน
ISO 14001 กำหนดให้มีการซ้อมแผนฉุกเฉินหากทำได้ในทางปฏิบัติ กำหนดการซ้อมแผนฉุกเฉินควรครอบคลุมเหตุฉุกเฉินชนิดต่างๆและทุกพื้นที่ ควรมีการประเมินประสิทธิผลของการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและปรับปรุงให้ดีขึ้นหากจำเป็น หรือทำการซ้อมเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลตามที่กำหนดไว้
แผนการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินฉบับสำเนาต้องแจกจ่ายให้ทั่วทั้งองค์กรและทุกคนต้องรับรู้ถึงขั้นตอนการเตือนภัยครั้งแรกและการอพยพ สมาชิกของทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องเป็นผู้นำในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและทุกๆคนในพื้นที่ควรได้รับการฝึกซ้อมการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินและการอพยพ ควรจัดเก็บบันทึกผลการฝึกซ้อมและบันทึกการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการแก้ไขปัญหากรณีเหตุฉุกเฉิน
สิ่งที่นอกเหนือไปจากเอกสารอื่นๆคือแผนการแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นต้องทำให้ทันสมัยอยู่เสมอ ประกอบด้วย รายชื่อบุคคลและหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ในปัจจุบัน และการอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานเฉพาะที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น

Download : ตัวอย่างแผนฉุกเฉินนี้ (เป็นแผนฉุกเฉินที่จัดทําที่เหมาะกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหนักๆ ครับ ต้องปรับให้เหมาะนะครับ)


0 ความคิดเห็น: